Tramways - ขนส่งมวลชนมหานคร

Sisada Ransibrahmanakul
Written by Sisada Ransibrahmanakul on
Tramways - ขนส่งมวลชนมหานคร

ส่วนตัวผมชอบ designer คนนี้เป็นพิเศษ (Alban Viard) เกมนี้เอาแกนของ Age of Steam มาตีความใหม่ พร้อมอัดกิมมิคเข้าไปเยอะมาก ตัวเกมจะให้ผู้เล่นสร้างระบบขนส่งต่อรางรถไฟเพื่อเชื่อมต่อย่านต่างๆของเมืองเข้าด้วยกัน แต้มจะมาจากการสร้างระบบขนส่งรางรถไฟและการขนส่งผู้โดยสารถึงที่หมาย ตัวเกมเล่น 6 รอบจบ

ในแต่ละรอบเราจะเริ่มกันที่การประมูล turn order ตรงนี้มีลูกเล่นน่าสนใจดี (แต่อาจจะถูกมองว่าเวิ้นเว้อเกินจำเป็นก็ได้) หลักๆคือทุกครั้งที่ประกาศราคาประมูลจะต้องจ่ายเงินทันที เมื่อวนกลับมาตาเราใหม่เราตราบใดที่เรายังจ่ายเงิน แม้จะไม่ใช้ผู้เสนอราคาสูงสุดเราก็ยังอยู่ในการประมูลต่อได้ แต่ถ้าเราเสนอราคาสูงสุด (ยังไม่โดน outbid) เราจะได้ไปต่อคิว turn order หัวแถว แต่ถ้าไม่สู้ต่อก็ต้องไปอยู่ท้ายแถวแทน

จากนั้นเราจะเข้าสู่ phase การทำ action  ในเกมนี้แต่ล่ะรอบผู้เล่นจะได้เลือกทำคนล่ะ 3 action โดยแบ่งออกเป็นสองช่วงคือคนล่ะ 1 action พอครบทุกคนก็จะเล่นอีกคนล่ะ 2 action


Let them ride trains

ระบบ action ของเกมจะทำผ่านการ์ดซึ่งสิ่งที่ผู้เล่นจะได้เลือกทำคือ

  • สร้างรางเชื่อมต่อระหว่างย่านต่างๆในเกมเข้าด้วยกัน
  • เพิ่มย่านใหม่เข้าไปในแผนที่
  • ขนส่งผู้โดยสาร

ความยาก (และสนุก)ของเกมนี้คือ ผู้เล่นจะมีการ์ดในมือ 7 ใบ แต่ล่ะใบก็จะมี icon สำหรับ action และย่านต่างๆในเกม (มี ที่อยู่อาศัย(R) / การค้า(C) / อุตสาหกรรม(I) / สันทนาการ(L) ) ในการจะทำแต่ล่ะ action จะต้องทิ้งการ์ดที่มี icon ตาม action นั้น ตัวเกมการ์ดแต่ล่ะใบแต่มีจำนวนและชนิด icon ไม่เหมือนกัน

ถ้าคุณจะต่อรางจำนวน 3 รางคุณอาจจะต้องทิ้งการ์ด 1-3 ใบ (icon สร้างรางมีตั้งแต่ 1-3 รางต่อ 1 icon) ตัวเกมกำหนดว่าถ้าเชื่อมต่อย่านสองย่านเข้าด้วยกันเป็น complete link ผู้เล่นจะต้องทิ้งการ์ดที่มี icon ตามย่านใดย่านหนึ่งที่คุณกำลังเชื่อมต่ออยู่ (ถ้าคุณเชื่อมที่อยู่อาศัยกับการค้าคุณก็ต้องทิ้งการ์ดที่มี icon (R) หรือ (C))

ในการขนส่งผู้โดนสารผู้เล่นจะต้องทิ้งการ์ด 1 ใบบวกกับการ์ดที่มี icon ที่หมายปลายทางอีกหนึ่งใบ (รวมเป็นสองใบ) ถ้าคุณยังจำได้ว่ามือเรามีแค่ 7 ใบ เอาแค่ต่อรางคุณก็น่าจะใช้การ์ดไปครึ่งมือแล้ว ไหนคุณจะต้องบริหารจัดกลุ่ม icon อีก อย่างเช่นรางก็อยากจะต่อ แต่ว่าไอ้การ์ดใบนั้นดันมี icon (R) ที่ยังไงๆคุณก็ต้องเก็บเอาไว้สำหรับขนผู้โดยสารแล้วในมือคุณดันมีการ์ด (R)แค่อันเดียว…ก็ต้องมาคิดกันว่าจะบริหารทรัพยากรยังไงดี………..คือชอบนะ คิดเยอะดี


เพื่อไม่ให้เกมยากเกินไป เกมนี้เลยอนุญาตให้คุณสามารถใช้ icon ในการ์ดได้มากกว่า 1 อัน อย่างเช่นสามารถใช้การ์ด 1 ใบเพื่อขนผู้โดยสารและใช้ icon ที่หมายปลายทางในการ์ดใบเดิมได้ทันที โดยแลกกับการเพิ่ม แทรค ความเครียด (stress) ทุกครั้งที่เราใช้ icon มากกว่าหนึ่งครั้งบนการ์ดใบเดิม ……. ไอ้แทรคที่ว่าก็ไม่มีอะไรมาก แค่แต้มลบตอนจบเกมเท่านั้นเอง…… ยิ่งเล่นก็ยิ่งเครียด :P

เกมนี้มีการใส่กิมมิค deck building เข้าไปด้วย ตอนต้นรอบจะมีการเปิดการ์ดใบใหม่เท่าจำนวนผู้เล่น หลังจากประมูล turn order แล้วก็จะผลัดกันหยิบเข้ามือคนล่ะใบ ตอนจบรอบเราจะได้จั่วจนเต็ม hand limit ถ้ากองจั่วไม่พอก็จะสับกองทิ้งมาทำกองจั่วตาม concept deck building

ตอนประมูลหยิบการ์ดค่อนข้างมันส์มากเพราะการ์ดแต่ล่ะใบเก่งไม่เท่ากัน แถมมีการ์ดประเภทติดลบที่ยังไงๆก็ไม่อยาก เลยต้องทุ่มเงินประมูลหนีอันดับล่างๆ


Happiness is the key

แต้มในเกมนี้มีชื่อเรียกสวยๆว่า Happiness Point ได้มาจากการที่เราขนส่งผู้โดยสารไปตามโซนในแผนที่

หลังจากที่เราทิ้งการ์ดเพื่อบอกว่าผู้โดยสารจะเดินทางไปย่านไหนแล้ว เราจะจับผู้เลื่อนตามรางไปเรื่อยๆจนหยุดที่ย่านอันแรกที่ตรงกับที่เราใช้ icon ไป จะให้ผู้โดนสารวิ่งผ่านระบบรางของผู้เล่นคนไหนก็ได้ แต่ว่าผ่านรางใครคนนั้นก็ได้แต้มไป ถ้าผ่านรางของเราเองเราจะได้เงินจากธนาคาร แต่ถ้าใช้รางคนอื่นเราจะต้องจ่ายเงินผู้เล่นเจ้าของราง เมื่อผู้โดยสารถึงปลายทางย่านแต่ล่ะชนิดก็จะมี effect ต่างกันไป

ด้วยระบบที่ผู้โดยสารจะหยุดที่ป้ายแรกที่ตรงกับ icon ที่ใช้ ถ้าเราวางแผนการต่อรางไม่ดีล่ะก็ อาจจะต้องส่งคนแบบป้ายเดียวจอดได้แต้มน้อยๆเหงาๆ หลังจากส่งผู้โดยสารแล้วจะเอาออกจากเกม พอช่วงท้ายๆเกมนี้ต้องตบตีกันเพราะคนแทบไม่พอส่ง

[Note] เทียบกับ AoS คือตัดระบบหัวรถจักรออกไป วิ่งไกลแค่ไหนก็ได้ตราบเท่าที่สามารถ


The Bon : When selling points also act as enemies

ส่วนตัวรู้สึกเขียนรีวิวเกมนี้ยากพอดูเพราะมันมีสองมุมแตกต่างกันให้มองคือ ในมุมที่เป็นเกมที่เอากลไกหลายๆแบบมาใช้ได้สนุก กับในมุมที่ถ้ามองอีกทีมันก็เหมือน Age of Stream ฉบับทำไมมันต้องลีลาเยอะจังว่ะ

ระบบของเกมนี้รวมๆทำออกมาได้ดีมีเรื่องจัดการทรัพยากรที่สนุกและคิดเยอะ แต่อย่างที่บอกว่าเกมนี้แกนของมันคือเกมส่งของอย่าง Age of Steam ที่ระบบเรียบง่ายมาก ทำให้เกิดคำถามว่าไอ้ระบบที่เพิ่มขึ้นมานี้มันฟุ่มเฟือยเกินไปไหม สำหรับตัวเกมที่พยายามสื่อความรู้สึกแบบเดียวกัน

ด้วยความที่การ์ดที่เปิดให้มาประมูลเป็นแบบสุ่ม การ์ดที่วนกลับเข้ามือผ่านระบบ deck building ก็เป็นแบบกึ่งสุ่ม (แต่เกมมี 6 รอบเองนะ อันนี้ถือว่าคล้ายๆ Rococo) ด้วยความที่ว่าเกมนี้ค่อนข้าง tight มากๆ ถึงแม้จะเป็นเกมประเภทไม่มีแต้มลบมาไล่หลังแต่ว่าก็เป็นเกมที่ unforgiving มากๆ คือถ้าพลาด , โดนตัด หรือรอลุ้นการ์ดบางใบให้กลับเข้ามือล่ะก็ มักจะต้องเหงาจนจบเกม

ตัวเกม replayability สูงมากเพราะแผนที่ซอยเป็นโมดูลย่อย 13 ชิ้นแถมมีสองหน้า จัดวางสลับไปสลับมาทุกเกม แถมการ์ดที่จะใช้ยังถูกสุ่มมา ทำให้บรรยากาศในแต่ล่ะเกมไม่ซ้ำซาก

ส่วนที่ค่อนข้างน่ารำคาญคือรูลที่แม้จะแบ่งกลุ่มข้อความมาดี แต่ดันเขียนอ่านเข้าใจยากใช้คำวักๆวนๆ (เกมอื่นของ designer คนนี้ก็เป็น) flow เกมมันไม่ได้ยากมากมายพอเล่นแล้วก็รู้สึกว่าง่ายดีแต่รูลเขียนแบบที่ต้องกลับไปเปิดอ่านซ้ำอยู่บ่อยๆ ด้วยความที่รูล organized ยังไม่ค่อยดีพอ จุดสำคัญๆที่อยากรู้มักจะต้องไล่อ่านดีๆ (อีกเจ้าที่บัดซบพอกันคือของ Martin Wallance)

แน่นอนว่าด้วยอคติบังตาผมจะลืมๆเรื่องที่รู้สึกว่ามันเป็น AoS ฉบับก่อนที่จะตัดลูกเล่นจนเหี้ยนไปแล้วบอกว่าเกมนี้สนุกมากครับ เป็นเกมแนวที่ต้องใช้ความคิดในการเล่นตลอดเวลาแบบไม่ค่อยมีจังหวะให้พักเท่าไร เพราะระหว่างรอคนอื่นคิดเราก็ต้องคิดแผนการของเราไว้ตลอด ซึ่งผมชอบมากเพราะมีอะไรคิดระหว่างตาตลอด

แถมมูฟประเภท…… สัด!! เอาแล้วไง ……โดนคนอื่นมูฟผู้โดยสารตัดหน้าทำให้เรามูฟเองไม่ได้ก็เจอบ่อยๆ


 

Sisada Ransibrahmanakul

Sisada Ransibrahmanakul

โปรแกรมเมอร์ขี้บ่นที่ชอบเล่นเกมกระดาน

-->