หนทางสู่เกมที่หนักขึ้น
เป้าหมายของบทความนี้คือเพื่อแนะนำเกมสำหรับผู้เล่นกลุ่มที่ผ่านเกมระดับรางวัล Spiel des Jahres อันเป็นเกมระดับครอบครัว (light, mid-light) และระดับรางวัล Kennerspiel des Jahres (mid light, mid) ที่เป็นระดับที่ต้องคิดขึ้นมาอีกหน่อยแล้วอยากจะ ‘ลอง’ เล่นเกมหรือเกมที่ ‘ปูทางไปสู่’ เกมระดับ Heavy Euro ดู เพราะจริงๆแล้วเกมที่ขึ้นชื่อว่า ‘หนัก’ หลายๆเกมมันก็ไม่ได้เล่นยากอะไร แค่มันมี depth ที่ยิ่งเล่นยิ่งล้ำลึกเท่านั้นเอง
บทความนี้ไม่ได้ตั้งกลุ่มเป้าหมาย ไปยังกลุ่มที่เล่นเกมปาร์ตี้ หรือเกมระดับครอบครัวเบาๆเป็นหลักนะครับ :)
วันก่อนผมได้ฟัง podcast ของ Heavy Cardboard ว่าด้วย Top 6 Gateway to Heavier Games ที่พิธีกรหลักคู่สามี-ภรรยาเอาเกมที่ตัวเองคิดว่าเหมาะที่จะเอามาแนะนำคนที่อยากลองเกมหนักขึ้น ก็เลยคิดว่าอยากจะลองเอาตัวเลือกที่ผมเองคิดว่าน่าสนใจมานำเสนอบ้าง คิดว่าน่าจะเหมาะสำหรับคนที่อยากลอง ‘ไต่เพดานบิน’ ไปสู่เกมยูโรที่ซับซ้อนขึ้นโดยที่ไม่ต้องไปพบเจอกับเกมที่กติกาซับซ้อนเข้าใจยาก หรือใช้เวลาการเล่นนานเกินไป โดยหลักการเลือกของผมคือ
- ไม่มีกติกาที่จุกจิก
- ระบบการเล่นตรงไปตรงมาเข้าใจง่าย
- นำเสนอกลไกพื้นฐานที่ใช้กันทั่วไปในเกมอื่นๆ
- คุณค่าในการเล่นซ้ำสูง
เอาจริงๆก็ถือว่าเป็นเกมกลุ่มที่ผมมักเอาไปกาง ‘หลอกเด็กใหม่’ อยู่เหมือนกัน เพราะเป็นเกมกลุ่มที่สอนง่าย ไม่มี phase จุกจิกเยอะ เกมนอกจากจะเป็นตัว ‘เริ่มต้น’ ก็ยังถือเป็น ‘เส้นทาง’ ตัวท๊อปในกลุ่ม heavy euro อยู่แล้ว (เป็นตัวอย่างชั้นดีว่าเกมยูโรหนักๆ กติกาไม่จำเป็นต้องหนักตาม)
ขอแนะนำแบบไม่เรียงลำดับตามความชอบดังนี้………
Age of Steam: เกม heavy euro ระบบเกมสุดคลีน แอ๊คชั่นน้อยแต่หนักแน่น ประมูลกันแบบคิดทุกเศษเงิน นี้คือหนึ่งในสุดยอดเกม Network building + Bidding + Pick up and Delivery ที่อยากให้ทุกคนได้ลองเล่น (ตอนนี้อาจจะหายาก ลองเอา Steam มาแทนก็พอได้เพราะหาง่ายกว่า กติกาหลักเหมือนกันแต่ปรับเปลี่ยนให้เล่นง่ายขึ้นนิดหน่อย แต่ส่วนตัวชอบ AoS มากกว่า ลองหากล่องภาษา Dutch ดู จะราคาไม่แพง)
Caylus: เกม heavy euro ที่ใช้ระบบ Worker placement + Engine building ไม่มีดวงมาผสม วิธีการเรียบง่ายที่ไม่ล้าสมัย มีพื้นที่ให้สำรวจตัวเกมเยอะมาก มีการวางแผนครบทุกระยะ เข้าใจง่ายและเหี้ยม ในฐานะเกม Woker Placement แล้วเกมนี้คือราชันย์ (ข้อเสียคืองานอาร์ทกากไปหน่อย….อย่างน้อยก็สำหรับผม เมื่อไรจะออกตัว KS สวยๆแบบ Brass กันนะ)
El Grande: เกม mid-heavy euro อีกหนึ่งในเกม area control อันดับต้นๆ (แต่ดีที่สุดแล้วสำหรับผม) วิธีการเล่นพื้นๆโดยการย้ายคนงานไปมาบนแผนที่ แต่ว่าด้วยชนิดของแอ๊คชั่นที่สุ่มมาก็ทำให้เกมมีจังหวะที่น่าสนใจตลอดเวลา (เอาจริงๆแล้วสำหรับผมเกม area control อื่นๆนะไม่แย่หรอกนะ แต่ El Grande มันดีเกินไป พอเอามาเทียบแล้วก็จะเกมอื่นก็จะดูหมองๆหน่อย ) ส่วนตัวแล้วผมเองก็เริ่มไต่ระดับจากเกมนี้แหละ หลังจากเล่นเกมระดับครอบครัวอย่าง Catan, Ticket To Ride มา พอเจอ El Grande ไปตาสว่างเลย เจอแนวทางชีวิตว่าเรานี้ชอบเกมที่ต้องคิดเยอะหน่อยนี้เอง
Puerto Rico: เกมระดับ mid ที่นำเสนอระบบ role selection ได้เป็นอย่างดี มีทั้ง Engine building + Economic ที่มีวิธีการเล่นได้หลายรูปแบบ โดยที่เราต้องคอยวางแผนการเลือกแอ๊คชั่นให้ดี เพราะเกมใช้วิธีเล่นแบบ ‘มีคนเลือกแอ๊คชั่นนำ แล้วคนที่เหลือต้องทำตาม’ สิ่งที่เกมนี้มีชัดมากเทียบกับเกมอื่นคือ ‘กระแส’ หรือโมเม้นตั้ม ที่ผู้ที่ชนะนอกจากจะวางแผนมาดีแล้วยังต้องเรียนรู้ที่จะเลือกแอ๊คชั่นให้สอดคล้องกับ ‘กระแส’ ของเกมด้วย เป็นอีกหนึ่งเกมที่เข้าระดับคลาสสิค ยังสนุกแม้ผ่านมาเป็นสิบปี
Hansa Teutonica: เกมระดับ mid ที่นำเสนอลูกเล่นการเล่นแบบ ‘เปิดช่อง เพื่อเพิ่มตัวคนงาน+ความสามารถ’ (ตัวอย่างเกมสมัยนี้ ก็ระบบเปิดช่องว่างใน Scythe ) ไอเดียเกมเรียบง่ายไม่ซับซ้อนแต่ลึก เราแค่ส่ง cube ไปวางบนเส้นทาง หรือ ‘เตะ’ ผู้เล่นคนอื่นออกนอกเส้นทาง พร้อมกับหาทางทำแต้มไปด้วย เป็นเกมที่มีแผนการเล่นหลายสาย มีกั๊ก มีขัดขากันตลอดเกม
Clans of Celdonia: เป็นเกมพึ่งออกไม่นาน ใช้วิธีการเล่นที่เอาแกนของ Terra Mystica มานำเสนอใหม่ในระดับ mid-heavy ถือเป็นเกมยูโรหน้าใหม่ที่มีส่วนผสมของกลไกการเล่นที่หลากหลายได้ลงตัวมากเกมหนึ่ง (คือ Terra Mystica ทำมาก่อนนะ แต่เกมนี้เจือจางลงมาในระดับที่เข้าถึงง่ายขึ้น) ทั้งระบบ networking , tech tree, economic, set collection ฯลฯ เป็นยูโรรวมฮิตกลไกที่เข้าใจได้ไม่ยากมีท่าให้เล่นเยอะ ถือเป็นตัวอย่างของเกมยูโรในยุค KS ที่กลไกการเล่นถูกพัฒนาต่อยอดมาจากของเก่าได้ดีเกมหนึ่ง
ตัวเลือกอื่นที่น่าสนในไม่แพ้กัน
ไม่ได้อยู่ในลิสแรกเพราะกลไกมันทับซ้อนกันเยอะไปหน่อย เดี๋ยวจะกลายเป็นลิสแนะนำเกม Worker Placement ไป… ฮา
Lorenzo il Magnifico:Worker Placement + Engine Building ที่มีไอเดียเพิ่มเติมคือ ‘พลัง’ ของคนงานในแต่ล่ะรอบมีไม่เท่ากัน และช่องลงแอ๊คชั่นที่ต้องการ ‘พลัง’ ขั้นต่ำไม่เท่ากัน วิธีการเล่นค่อนข้างยืดหยุนแต่ว่าแร้นแค้นนิดหน่อยเพราะพื้นที่ให้ลงมีจำกัด กติกาไม่ซับซ้อนแต่ว่าสามารถนำเสนอรูปแบบการเล่นที่ต้องใช้ความคิดได้ดีมาก
Russian Railroad: ตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมอีกอันสำหรับฝั่ง Worker Placement + Engine Building เล่นง่าย กึ่งคิดท่าจากบ้าน กึ่งปรับแผนหน้างาน หลักการมีแค่ไล่ upgrade track ไปเรื่อยๆเท่านั้นเอง แต่ว่าเกมมีแทรคให้เล่นหลายแบบ มีการใส่คอมโบได้หลายท่า และถึงแม้จะเล่นกันคนล่ะสายเกมก็ยังบีบให้เรามาแย่งกันช่องแอ๊คชั่นกันอยู่ดี
Ground Floor: Worker Placement + Economic + Engine Building เพิ่มคนงาน ลงทุนสร้างตึกมาผลิตสินค้าไปขาย เป็นเกม Economic ที่สนุกมากๆอีกเกม เกมนี้ใช้วิธีการเล่นแบบเอาคนงานไปลง (พร้อมมีค่าใช้จ่ายในการลง) พอครบทุกคนค่อยไล่ resolve จนครบ มีดวงนิดๆพอให้ลุ้น แต่ตอนนี้อาจจะหายากนิดนึงเพราะ Out of print ไปนาน (มีค่าย Spielworxx กำลังจะเอาเกมนี้กลับมาทำใหม่เป็น Second Edition แต่ไม่แน่ใจว่าทำมาเยอะไหม เพราะปกติค่ายนี้ทำมาน้อยและราคาแพง)
Tzolk’in: The Mayan Calendar: Worker Placement วิธีการเล่นในแต่ล่ะตามีแค่ ‘ส่ง’ กับ ‘ถอน’ คนงานออกเท่านั้นเอง แต่ใช้กลไกการ ‘รอ’ จังหวะถอนตัวยิ่งรอนานก็ยิ่งได้ผลที่ดีขึ้น ระบบเฟืองหมุนก็ทำให้รู้สึกตื่นตาเล็กๆทุกครั้ง
Brass: เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งสำหรับเกมแนว Economic + Network building + Hand Management ข้อดีมากของเกมนี้คือระบบ demand / supply ถูกขับเคลื่อนด้วยผู้เล่น 100% ไอเดียการบริหารมือก็ถือว่าเจ๋ง ง่ายๆเข้าใจไม่ยาก (คนที่ชนะบ่อยคือคนที่เล่นเก่ง ดวงออกไปทางสีสัน) ส่วนตัวแล้วชอบเกมนี้มากๆ ไม่ได้เอาลงลิสแรกเพราะรู้สึกว่ากติกาเล็กๆน้อยๆมันจุกจิกไปนิด คู่มือฉบับเก่าก็เรียบเรียงได้ค่อนข้างห่วย ส่วนปกที่ยกมาเป็นฉบับยกเครื่องทำอาร์ทใหม่ออกกลางปี 2018 หรือจะลอง Age of Industry ก็ได้ (เป็นตัวที่พัฒนาต่อจาก Brass ในเข้าใจง่ายขึ้น) แต่ส่วนตัวชอบ Brass มากกว่า AoI เพราะอันหลังเวลาเล่นแล้วรู้สึก‘เรียบ’ไปนิด
PowerGrid: เป็นอีกตัวแนะนำที่จริงๆก็ดีแหละ ส่วนมากคนที่เริ่มหัดเกมใหญ่ขึ้นมาหน่อยก็มักจะชอบกัน เพราะเข้าใจตามง่าย ไม่มีข้อกำหนดจุกจิก (จริงๆมีนิดนึงแต่ถ้ามีคนที่เล่นเป็นอยู่แล้วก็ไม่ต้องสนใจตรงนี้มาก) มีทั้งการประมูลและ demand / supply ที่เราจะต้อง ประมูลและสร้างโรงฟ้าแจกจ่ายโรงงานที่เราไปลงทุนสร้างไว้บนแผนที่ (แถมตอนเล่นกากแล้วจะแพ้ก็มักจะไม่รู้ตัวเพราะระบบเกมมันซ่อนไว้ดี ไม่รู้สึก ‘ร้อน’มากทั้งๆที่จริงๆแล้วโดนตัดไปอย่างเจ็บ) คือพอดีไม่ชอบกลไก catch up เกมนี้เป็นการส่วนตัว แต่ในฐานะเกม intro แล้วจะไม่ยกมาก็คงไม่งาม เพราะเป็นตัวเลือกที่ดีมากอันหนึ่ง