The Great Zimbabwe - ส่งของสร้างแท่นบูชา

Sisada Ransibrahmanakul
Written by Sisada Ransibrahmanakul on
The Great Zimbabwe - ส่งของสร้างแท่นบูชา

พอดีมีเพื่อนที่เป็นเจ้าของร้านเกม mention มาให้ comment สั้นๆเกี่ยวกับเกมนี้เพราะมีลูกค้าถามมา ตอนแรกจะเขียนแค่สองสามบรรทัด แต่ว่า The Hobbit เกิดจากกระดาษเปล่าๆพร้อมเติมคำว่า มีฮอบบิทอยู่ในรู ฉันใด รีวิวนี้ยิ่งเขียนก็ยิ่งยาวฉันนั้น ปั่นรวดเดียว ยิ่งเขียนตะกอนความทรงจำเกี่ยวกับเกมนี้(ที่ตอนแรกนั่งๆนึกว่ามันเล่นยังไงว่ะ ลืมหมดล่ะ) ก็โผล่ขึ้นมาเรื่อยๆ แล้วพบว่าไปๆมาๆรู้สึกว่ามันยาวเกินโพส fb เลยเอาลง blog ล่ะกัน (น่าจะเป็นรีวิวที่เขียนเร็วสุดล่ะ แถมบังเอิญกดดูรูปเก่าๆเจอที่ถ่ายๆเก็บไว้พอดีหลายรูปเลย)

เกมนี้เป็นเกมของค่าย Splotter Spellen ที่ OOP ราคาแพงระยับแต่ตอนนี้เอากลับมา reprint ใหม่แล้ว ราคาตอนนี้ถ้าคุณคิดว่าแพงก็ไม่แปลก เพราะ print run น้อยต้นทุนสูง แต่ว่าคนที่ซื้อเกมค่ายนี้ก็มักจะเป็นเกมเมอร์ที่เข้าใจว่ากำลังซื้องานศิลป์ (ในแง่ระบบการเล่น) อยู่แล้ว


Key Points Overview

เกมนี้เป็นเกมแนว economic + transportation ที่มีธีมอยู่ในยุคชนเผ่าของแอฟริกา แผนที่ในเกมจะเป็นโมดูลย่อยๆวางสุ่มใหม่ทุกครั้ง

ระบบแพ้ชนะ ที่ผู้ชนะจะชนะเมื่อทำแต้มถึง goal หรือจุดมุ่งหมายของตัวเอง

สาเหตุเพราะว่าทุกครั้งที่เราหยิบการ์ด technology หรือเลือกบูชา god แล้วเราจะได้ข้อได้เปรียบบางอย่างมา แต่จะแลกกับการที่ goal ของเราต้องขยับออกไปไกลขึ้น (เป็นระบบที่ใช้แนวคิดจาก Antiquity มาปรับอีกที) ส่วนตัวคิดว่าน่าสนใจดี ยิ่งท่าเยอะยิ่งต้องทำแต้มเยอะตาม

เป้าหมายหลัก(แต้ม)เกมนี้คือ การสร้าง monument

  • แต้มมาจากการสร้าง monument เราสามารถมีได้หลายอัน และสามารถต่อให้สูงขึ้นได้
  • การจะต่อให้สูงขึ้นจำเป็นต้องสามารถ”บูชา” monument ได้โดยการส่งสินค้ามาบรรณาการ
  • monument สูงได้ 5 ชั้นการจะขึ้นแต่ล่ะชั้นก็ต้องมีสินค้ามาบรรณาการ”ต่างชนิด”กันตามชั้น
  • เกมนี้มีสินค้า 7 ชนิด (มีเบสิค 4 ระดับสูง 3)

ระบบแกนหลักของเกมนี้คือ logistics ในการส่งบรรณาการมาขยาย monument

  • map พอสุ่มแล้วจะมี raw resources อยู่กระจายตามแผนที่
  • ผู้เล่นจะไปสร้างแหล่งแปรรูป(crafters) ระดับเบสิคในระยะห่างจาก raw resource ไม่เกิน 3 ช่อง
  • ถ้าเป็นสินค้าระดับสูง ต้องห่างจากแหล่งผลิตเบสิคไม่เกิน 3 ช่องเช่นกัน (เอาของเบสิคมาปรับปรุงไปใช้ต่อ) แถมต้องมีสินค้าเบสิคอีกชิ้นเอามาเป็นวัตถุดิบเพิ่มด้วย
  • Monument ปลายทางก็ต้องห่างจากแหล่งแปรรูปไม่เกิน 3 ช่องเช่นกัน
  • ส่งสินค้าข้ามผ่านแหล่งน้ำได้
  • สามารถใช้ monument ของใครก็ได้เป็น hub เพื่อขนส่งสินค้าอีกต่อนึง แต่ต้องจ่ายเงินค่าใช้เข้ากองกลาง
  • raw resources ที่ใช้แล้วจะเอา marker มาวางไว้ทำให้คนอื่นใช้ไม่ได้ พอจบตาก็เอาออก
  • ใครมาใช้ crafters เราก็ต้องจ่ายตามราคาที่เราตั้งไว้ (1-3 วัว)
  • แหล่งแปรรูป รูปทรงไม่เท่ากันก็ต้องวางแผนการวางดีๆหน่อย เพราะการเข้าถึง raw resources กับแหล่งน้ำ แล้วก็ monument ถือเป็นกุญแจสำคัญของเกมนี้

[caption id=”attachment_2959” align=”aligncenter” width=”2942”]img_4708 Set up ช่วงต้นเกม กระดานจะประกอบไปด้วยโมดูลแผ่นที่ย่อยๆ 9 อัน icon บนแผนที่คือวัตถุดิบตั้งต้น ทางขวาบนใกล้มุมแผนที่คือ Crafter ชนิดต่างๆ component ในรูปเป็นแบบ 1st print แต่อันใหม่ก็น่าจะเหมือนเดิมมั้ง[/caption]


How I Feel

เกมเป็นที่ตอนได้มาใหม่ๆ เล่นแม่มเป็นสิบรอบ สนุกมาก แต่ส่วนที่ไม่ชอบเลยคือระบบตั้งราคาสินค้าที่จะให้ตั้งได้แต่ 1-3 วัว (เกมนี้หน่วยเงินใช้เป็นวัว ตามธีมล่ะน่ะ) คือแนวคิดเกมจะประมาณตั้งถูกก็มีคนมาใช้เยอะแต่เราได้ตังน้อย ตั้งแพงก็มีคนใช้น้อยแต่เรารวย แต่ประเด็นคือเราไม่ได้อยากให้คนอื่นมาใช้เยอะแยะ เพราะเราอยากเก็บไว้ใช้เอง แถมใช้ของตัวเองเงินมันก็วนกลับเข้ากระเป๋าตัวเอง(ตรงนี้ขัดใจมาก) เลยไม่รู้จะตั้งไว้ถูกๆทำไม

เกมนี้เป็นลักษณะแบบ snowball effect ไม่มี catch up (อันเป็นปกติของค่ายนี้) คือยิ่งเก่งยิ่งนำห่างพวกกากๆก็เหงาไป ถ้าเราตั้งทำเลสินค้าได้ดีมีคนมาใช้เยอะ แล้วตั้งราคาสินค้าแพงๆ ยิ่งมีคนใช้เราก็ยิ่งรวย พอรวยก็มีตั้งไปบิด turn order ก่อนแล้วก็ไปสร้างที่อื่นต่อ เป็นรวยต่อรวย แน่นอนว่าซักพักเดี๋ยวก็มีคนตามมาสร้าง แบ่งปันความรวย แต่ความได้เปรียบของคนมาก่อนก็ไม่ได้หายไปไหน

Turn order เกมนี้ดุเดือดมาก ด้วยความที่สินค้ามีจำกัด แถมแหล่งแปรรูปนี้ใครใช้ก็ได้ การที่เราสร้างแหล่งแปรรูปไว้เองแต่พอมาถึงตาเราอาจจะไม่เหลือ raw resource ไว้ให้เราใช้ก็ได้แปรรูปต่อ ต้องรอตาหน้า

ระบบขนส่งในเกมไม่ใช้รางแต่เป็นระยะทาง ข้อดีคือทำให้ยืดหยุ่นมากไม่ซ้ำซาก แต่ข้อเสียคือตอนท้ายๆเกมต้องใช้สมาธิเยอะหน่อย แถมออกจะดูวุ่นวายในบางที เพราะเวลาขนส่งสินค้าต้องใช้หลายชิ้น มาจากหลาย node ถ้าใจไม่นิ่งพอจะลืมเอากลางทางได้ง่ายๆ ยิ่งตอนที่ผู้เล่นหลายคน พยายามแย่งกันต่อ monument ของตัวเองให้สูงขึ้นแล้วของที่ใช้มีน้อยต้องคิดเยอะมาก (ไอ้เรื่องส่งของ fiddyๆ นี้น่าจะถือได้ว่าเป็นเอกลัษณ์ของเกมค่ายนี้เหมือนกันนะ ถ้าเคยเล่น Food Chain Magnate มาน่าจะพอเก็ท)

เล่นไปซักพัก(10+ รอบ)รู้สึก god มันน้อยไปหน่อย แต่เอาจริงๆก็ไม่ได้น้อยอะไรประมาณตัวละครในเกม The Voyages of Marco Polo ตรงนี้เอาจริงๆปัญหามาจากการเล่นเกมแบบชอบ”ชิม”ของผมเองที่พอเล่นครบท่าแล้วจะรู้สึกเบื่อ ต้องทิ้งเกมไว้ซักปีสองปีแล้วกลับมาเล่นใหม่ :D

ด้วยความที่เป็นเกมไม่มีดวง 100% เกมนี้เลยเป็นเกมที่สนุก ได้ใช้ฝีมือขับเคี่ยวกันเต็มที่ แต่ก็มากับข้อเสียที่ว่ามือใหม่มักจะเผลอปล่อยที่ดีๆไว้ให้มือเก๋ายึดบ่อยๆ เป็นเกมแบบที่มือใหม่รอบแรกต้องแพ้ แล้วก็มาฝึกฝีมือซักพักก่อน ส่วนตัวในแง่ economic รู้สึกงั้งๆ  แต่ในแง่ logistic เกมนี้เจ๋งมากถ้าชอบเกมประมาณ Age of Steam อยู่แล้วเกมนี้ไม่น่าพลาด

[caption id=”attachment_2965” align=”aligncenter” width=”2934”]img_4725 ช่วงท้ายเกม เกมนี้ขนาดแผนที่ก็ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้เล่นด้วย[/caption]

[disclaimer] เพื่อความเข้าใจตรงกัน ผมกับเจ้าของร้านเป็นเพื่อนสมัยมหาลัย ผมไม่ได้รับเงินร้านมาเขียน ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียอะไรกับยอดขายครับ เค้าแค่บังเอิญส่งหัวข้อมาแล้วดันมีอารมณ์เขียนเฉยๆ

Sisada Ransibrahmanakul

Sisada Ransibrahmanakul

โปรแกรมเมอร์ขี้บ่นที่ชอบเล่นเกมกระดาน

-->