Terraforming Mars - ภาระกิจพัฒนาดาวอังคาร

Sisada Ransibrahmanakul
Written by Sisada Ransibrahmanakul on
Terraforming Mars - ภาระกิจพัฒนาดาวอังคาร

เมื่อประชากรล้นโลกคนเลยต้องเตรียมตัวไปอยู่ดาวอังคาร แน่นอนว่าอยู่ๆจะไปอยู่เลยไม่ได้ต้องไปปรับสภาพดาวให้เหมาะแก่การอยู่อาศัยก่อน เราจะได้รับบทเป็นหนึ่งในบริษัทที่จะมารับหน้าที่อันยิ่งใหญ่นี้ โดยเกมจะจบลงเมื่อผู้เล่นพัฒนาดาวอังคารจนมีสภาพพร้อมอยู่อาศัย (ออกซิเจน / อุณหภูมิ / น้ำ เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต)

แต่ล่ะบริษัทก็จะมีความเชี่ยวชาญ ( aka. ความสามารถประจำเผ่า) แตกต่างกันไป


How things goes

แน่นอนว่างานหลักของผู้เล่นคือการเพิ่ม parameter สามอย่างที่บอกไปตอนแรก (ออกซิเจน / อุณหภูมิ / น้ำ)

flow ของเกมในทุกๆรอบคือหลังจากผู้เล่นได้รับ income แล้วผู้เล่นจะได้รับแจกการ์ดมาจำนวนหนึ่งและจะต้องเลือก “ซื้อ” การ์ดที่พึ่งจั่วมาเก็บไว้ในมือ จะซื้อกี่ใบก็ได้ ราคาซื้อการ์ดเข้ามือเป็นราคาตายตัวที่ยังไม่รวมเงินที่จะต้องจ่ายตอนเล่นการ์ด ถ้าซื้อเข้ามือเยอะ เงินก็อาจจะไม่พอใช้ทำ action อื่น

ไอเดียออกแบบที่น่าสนใจของเกมนี้คือแต่ล่ะรอบเราจะได้รับเงินเท่ากับแต้มที่เรามี (เริ่มมามีคนล่ะ 20 แต้ม) ยิ่งทำแต้มเพิ่มก็ยิ่งมีเงินไปทำ action (ซึ่งส่วนมากใช้เงิน) ได้เยอะ ซึ่งแต้มส่วนมากก็มาจากตอนที่เราเพิ่ม parameter หลัก (อันมีผลให้ trigger จบเกม) คือมันดูลื่นไหล เป็นเหตุเป็นผลดี

ในแต่ล่ะตาผู้เล่นจะต้องเลือกทำ 1-2 action แล้วแต่ต้องการจากนั้นก็วนให้คนอื่นทำ จะผ่านก็ได้แต่ว่าผ่านแล้วผ่านเลย ถ้าทุกคนผ่านหมด เราก็จะผลิต income + resource ตามแต่กำลังการผลิตของตัวเอง  แล้วก็ขึ้นรอบใหม่ (ในแต่ล่ะรอบเกมคือ 1 ชั่วอายุคน)

[SideNote] income ระหว่างเกมจะอยู่ที่ประมาณ 20-35 บาท การ์ดค่าใช้จ่ายประมาณ 10-30 ค่าใช้จ่ายในการซื้อการ์ดคือใบล่ะ 3 แปลว่าแต่ในแต่ล่ะรอบ ผู้เล่นจะได้เล่นประมาณ 1-4 action


Terraforming Mars

เกมนี้มีของ 5 อย่างที่ผู้เล่นจะเอาไปใส่ไว้บนดาวอังคาร

  • น้ำทะเล หนึ่งในตัว trigger จบเกม ทุกๆ 1 ไทล์แทนที่ด้วยพื้นที่น้ำทะเล 1% ของพื้นผิวดาวอังคาร
  • อุณหภูมิ หนึ่งในตัว trigger จบเกม ไม่มีไทล์ในแผนที่ เพิ่มโดยการที่ผู้เล่นผลิตความร้อนปล่อยเข้าสู่บรรยากาศ
  • ออกซิเจน หนึ่งในตัว trigger จบเกม ไม่มีไทล์ในแผนที่ หลักๆเพิ่มโดยการปลูกป่า
  • ป่า หนึ่งในตัวเร่ง trigger จบเกม ทุกๆ 1 ไทล์ที่วางปริมาณออกซิเจนจะเพิ่มขึ้น และมีแต้มให้คนวางตอนจบเกม
  • เมือง โดยตัวมันเองไม่มีแต้มอะไร แต่ตอนจบเกมมีแต้มเท่ากับจำนวนป่าที่ล้อมรอบเมืองอยู่

ตัวเกมมีวิธีการเล่นหลากหลายขึ้นอยู่กับความสามารถพิเศษของบริษัทเริ่มต้น (มี 12 ใบ) กับการ์ดที่ผ่านเข้ามือ (200 ใบไม่ซ้ำ) แกนหลักของเกมนี้จะใช้การ์ดเป็นตัวขับเคลื่อน engine ของผู้เล่นให้ผลิต resource เพื่อไปแปลงเป็นของ 5 อย่างที่ว่ามา

[caption id=”attachment_1226” align=”aligncenter” width=”4096”]p_20160924_214756 สภาพดาวอังคารในตอนจบเกม[/caption]


Funding Awards

ในหลายๆเกมมันจะมีแต้มประมาณ คนที่มี x y z เยอะที่สุดที่หนึ่งที่สองจะได้แต้มตอนจบใช่มะ? เกมนี้เพิ่มกิมมิคเข้าไปอีกขั้นโดยเปิดโอกาสให้ผู้เล่นเลือกโบนัสจบเกมได้ 3 จาก 5 อัน

ที่นี้การจะเลือกแต่ล่ะอันผู้เล่นคนหนึ่ง(เป็นคนเดิมก็ได้) จะต้องจ่ายเงินเพื่อเอา marker ไปวางไว้ เพื่อประกาศว่าจะให้นับคะแนนหมวดไหนตอนจบเกม ยิ่งวางช้าค่าวาง marker ก็ยิ่งแพง  แต่ถ้าวางเร็วจ่ายถูกก็จริงแต่คนอื่นเค้าก็เห็นว่าต้องทำอะไรแต้มถึงจะมา

การเป็นคนจ่ายตังไปวาง ไม่ได้แปลว่าคุณจะได้แต้มตอนจบหรอกนะ :P


Strong Theme

ความเจ๋งของเกมนี้ที่การ์ดแต่ล่ะใบไม่ซ้ำกัน คือแต่ล่ะใบก็มี ชื่อ/ความสามารถ/ข้อจำกัดในการเล่นที่ไปด้วยกันได้ดีกับธีมหลักของเกม เป็นธีมที่อิงจากดูไม่หลุดจากความเป็นจริงจนตามไม่ทัน อย่างการ์ดสิ่งมีชีวิตจะเล่นได้ต่อเมื่อมีอุณหภูมิ/ออกซิเจนในระดับที่เหมาะสม แนวคิดอย่าง Space Mirror ที่เอาไว้เพิ่มอุณหภูมิโดยการสะท้อนแสงอาทิตย์เข้าไปในดาว หรือกระทั้งแนวคิดการยิงระเบิดนิวเคลียร์เพื่อเร่งอุณหภูมิ ก็มีในเกมนี้

คือคุณไม่ต้องสนใจเรื่องพวกนี้ก็ได้แค่เล่นตามการ์ดไป แต่ถ้าลองใส่ใจอ่านดูก็จะอืมมันก็สนุกดีนะ เกมไม่ได้ยัดเยียดธีมขนาดเกมของลุง Phil Eklund (เกมของเฮียนี้สนุกก็สนุกอยู่ แต่ตอนอ่านรูลนี้ตรงไหนรูลตรงไหนตำราเรียนแยกแทบไม่ออก footnote บาน รูลหนักแน่นและง่วงมาก ตอนเล่น Bios : Megafuna จบนี้รู้สึกความรู้เรื่องระบบนิเวศยุคไดโนเสาร์เพิ่มมา จนนึกว่าถ้ามีสอบกูต้องได้เต็มแน่นอน)

[พล่าม] พูดถึง Phil Eklund แล้วเลยนึกถึงเวลามีคนมาถามอยากได้เกมเพื่อการศึกษาผมบอกเลยเอาเกมลุงแกเนี่ยล่ะ ตัวอย่างชั้นยอดของการเอาข้อมูลแน่นปึก ศึกษามาอย่างดี ยัดลงไปในเกมชนิดถ้าคุณมีความรู้เรื่องนั้นบ้างนี้จะร้อง wow (คือส่วนมาก core เกมเค้า ถ้า breakdown ออกมาแล้วค่อนข้างตรงไปตรงมา แต่หนักกิมมิคกับกฎย่อยเรื่องธีมมาก)


The Bon (บ่น)

Major issue (ส่วนตัวมากๆ)ของเกมนี้สำหรับผมคือ downtime

ด้วยความที่ผมเป็นมนุษย์ประเภทที่เล่นเกมด้วยวิธี heuristic (พูดบ้านๆก็คิดแค่ 80% อีก 20% ใช้สัญชาติญาณกับประสบการณ์พาไป ผมเลยตัด choice ค่อนข้างเร็ว) หลายๆเกมผมเลยมักจะอยู่ในสถานะการณ์แบบ……….. เอิ่มกูคิดเสร็จนานแล้วเมื่อไรจะถึงตากูซักที

อย่าเข้าใจผมผิด action แต่ล่ะอันในเกมนี้ทำได้กระชับ ผู้เล่นแต่ล่ะคนใช้เวลาทำ action ไม่นาน คือด้วยความที่มันเร็ว แล้วท่า action ของเราถ้าไม่ยุ่งกับบอร์ดกลางก็มักจะไม่จำเป็นต้องรอใครเลยมักอยากจะเล่นตาของตัวเองเร็วๆ เพราะลำดับในหัวผมนำไปไกลแล้ว (ปัญหานี้ผมเจอในเกมสาย deck building บ่อยมากเลยไม่ค่อยอยากเล่นเท่าไร)

เกมนี้ใช้ระบบเอา marker กลาง (เป็นพลาสติกพ่นสี ทองแดง/เงิน/ทอง แทนมูลค่า 1/5/10) วางไว้บน resource zone นั้นๆใน player mat ว่าเรามี resource ชนิดนั้นๆอยู่เท่าไร ถ้าเล่นๆอยู่แล้วไม่ระวังไปกระแทก player mat โอกาสที่ marker  จะกระจายย้ายช่องปนกันมั่วก็มีเยอะอยู่ (ดูรูปด้านล่างประกอบ)

marker ตัววัสดุเป็นพลาสติกน้ำหนักตอนเล่นอาจจะไม่ชินมือนิดหน่อย ส่วนสีโครมเมียมมีการถลอกเป็นปกติ ส่วนตัวเฉยๆ แต่พวกคนชอบอะไรเนี๊ยบๆอาจจะไม่ถูกใจเท่าไร

ตัวเกมการ์ดตรงหน้าค่อนข้างเยอะเพราะเวลาใช้เสร็จแล้วต้องวางไว้ดูสัญลักษณ์ที่เคยเล่นไป เพราะบางทีต้องเอาไปใช้นับเวลาใช้การ์ดใบอื่น กับผู้เล่นบางคนเล่นการ์ดกลุ่มที่เพิ่ม action เสริมเยอะเลยกลายเป็นทุกคนผ่านหมดแล้วเหลือไอ้บ้าคนสองคน เล่นวนไปวนมา กว่าจะผ่านก็หลายนานจริง

[caption id=”attachment_1215” align=”aligncenter” width=”4096”]p_20161002_183714 Player mat จะใช้ cube สี player บอก production level ว่าตอนจบตาจะผลิตได้เท่าไร ส่วน cube สีทองแดง/เงิน/ทอง มีไว้บอกว่ามี resource นั้นๆเท่าไร ค่อนข้างเสี่ยงต่อการกระจุยกระจายพอควร[/caption]


Back to Earth

เป็นเกม tableau / engine building ที่สนุกดี เอาธีมมาใช้ได้เจ๋ง การ์ดทำ icon มาดีแทบไม่ต้องอ่านข้อความกำกับ ตัวเกมเล่นแล้วไม่รู้สึกว่าหนัก (ส่วนตัวแล้วคิดว่าเกมมันค่อนข้างสบายๆ เพราะเป็นเกมประเภทไม่มี negative point มากดดัน)

เกมนี้จังหวะเกมค่อนข้างเนิบๆ ไหลไปเรื่อยๆ player interact ต่ำ แผนการเล่นก็ค่อยๆปรับเปลี่ยนไปตามการ์ดที่เข้ามือ แต่เนื่องจากการ์ดค่าเล่นมันแพงหลายๆรอบคุณอาจจะเลือกไม่ซื้อการ์ดเลยซักใบก็ได้เพราะมันไม่เข้ากับแผนการของเรา ทำให้เหลือเงินไปทำอย่างอื่น ก่อนมาเขียนรีวิวเล่นมา 10 กว่ารอบค้นพบว่าถึงการ์ดจะดูมั่วๆแต่ตอนท้ายๆผู้เล่นกลุ่มนำคะแนนมักจะไม่หนีกันเท่าไร ทั้งๆที่เล่นกันคนล่ะแบบ [Update : หลัง publish บทความไปเล่นไปประมาณ 30 รอบ เล่นแบบ basic game + draft การ์ดนี้สนุกสุด ใส่ cooperation การ์ด แล้วนานเกินจำเป็น]

ด้วยว่าการจะจบเกมนี้ต้องให้ parameter สามอย่างขึ้นไปจนสุดทุกอย่างก่อน ทำให้ผู้เล่นที่ทำสายเฉพาะทางในการเพิ่ม parameter  แต่ล่ะตัวไม่สามารถเร่งจบเกมได้ด้วยตัวเอง ก็รอให้คนอื่นมาช่วย ส่วนตัวคิดว่าดีนะ คือเป็นการลดพลัง combo เพราะถ้าเร่งเพิ่ม parameter เร็วได้แต้มก็จริงแต่ว่ามันมี limite อยู่แล้วไม่สามารถเก็บเพิ่มได้อีกถ้าไปสุดทางแล้ว

ถ้าคุณมองหาเกมที่มีความ competitive จัดๆ หรือไม่ชอบเกมแนว multiplayer solitaire  เกมนี้ไม่ใช่เกมสำหรับคุณ ส่วนตัวคิดว่าถ้าชอบแนวๆ Race for the Galaxy เกมนี้ไม่ควรพลาด

คือเกมมันสนุกนะ เกมดีด้วย ที่บ่นๆนี้ก็ไม่ใช่ว่าไม่ชอบ เป็นเกมประเภทการ์ดในมือยิ่งเยอะ ลำดับการออกการ์ดในหัวก็ยิ่งมาก บางครั้งในหัวคิดท่ามาอย่างดี อ้าวใบนี้มันต้องรอออกซิเจนไปถึง 10% ก่อนนิหว่า ล่มๆๆๆ คิดท่าใหม่…… อะไรแบบนี้ก็เห็นกันบ่อยๆ

Sisada Ransibrahmanakul

Sisada Ransibrahmanakul

โปรแกรมเมอร์ขี้บ่นที่ชอบเล่นเกมกระดาน

-->