Mombasa - บุกเบิกแอฟริกา

Sisada Ransibrahmanakul
Written by Sisada Ransibrahmanakul on
Mombasa - บุกเบิกแอฟริกา

เกมนี้เป็นเกมยูโรระดับกลางหนัก ที่ให้เราเล่นเป็นนักลงทุนในแอฟริกาช่วงยุคอาณานิคม เป้าหมายก็แน่นอนว่าเพื่อเงินไม่มีอะไรซับซ้อน ตัวรูลเกมนี้ก็ทำออกมาดีอ่านไม่งง ตัวแอคชั่นแต่ล่ะอันก็คลีนๆไม่วุ่นวายอะไร

ตัวเกมนับคะแนนตอนจบเกมครั้งเดียว โดยคะแนนจะมาจาก

  • มูลค่าหุ้นของบริษัททั้ง 4 ที่เรามี
  • แทรคเหมืองเพชร
  • แทรคหนังสือ
  • เงินสด

ส่วนตัวไม่มีความคิดแม้แต่เพียงเสี้ยวว่านี้มันคือเกม Economic (ถ้าบอกว่ามีธีม Economic อันนี้ผ่าน)


แทรคหุ้นในเกมจะเป็นแบบเดินหน้าทางเดียว คือมีแต่เพิ่มไม่มีขาย จำนวนหุ้นมีไม่จำกัด ผู้เล่นแต่ล่ะคนสามารถมีหุ้นเต็มจำนวนของแต่ล่ะบริษัทได้โดยไม่ต้องแย่งกัน (เอาจริงๆมันก็เดินแทรคธรรมดานั้นแหละแค่เกมนี้ธีมมันเป็นหุ้น)

ตัวเกมจะกำหนดให้แต่ล่ะบริษัทอยู่คนล่ะด้านของกระดาน ระหว่างเกมผู้เล่นจะมีแอคชั่นช่วยให้แต่ล่ะบริษัทเอา “สถานประกอบการ” (คือขี้เกียจพิมพ์ยาวๆต่อไปขอเรียกว่า “บ้าน”) ไปวางบนกระดาน ทีนี้มูลค่าหุ้นแต่ล่ะบริษัทก็จะดูกันที่ว่าบริษัทนั้นๆมีจำนวนบ้านบนกระดานเยอะแค่ไหน ยิ่งมีบ้านเยอะหุ้นก็ยิ่งแพง และมูลค่าของหุ้นไม่เกี่ยวกับราคาที่เราจะซื้อแต่อย่างใด เป็นแค่แต้มลอยๆสำหรับนับตอนจบเกมเฉยๆ


ส่วนที่สร้างความสนุกให้ระบบความสัมพันธ์ของราคาหุ้นต่อบ้านบนกระดานก็คือ…..พื้นที่กลางกระดานมีจำกัด และแต่ล่ะพื้นที่สามารถวางบ้านได้เพียงหลังเดียว (แปลว่าต้องแย่งกันนั้นเอง)

แน่นอนว่าในเกมนอกจากจะให้เราวางบ้านลงที่ว่างแล้ว ตัวเกมยังให้เราสามารถ “เตะ” บ้านบริษัทอื่นกลับไปได้ด้วย ทำให้การทุ่มถือหุ้นเยอะๆในบริษัทเดียวค่อนข้างจะเสี่ยงเอาเรื่องเพราะโดนเตะรัวๆจากคู่แข่งหุ้นจะหมดมูลค่าเอาง่ายๆ

จบเกมหุ้น 10ใบ ใบล่ะ 0 บาท กับหุ้น 1ใบ ใบล่ะ 10 บาท ก็มีให้เห็นกันบ่อยๆ


Where the fun come in

ก่อนจะไปต่อขอให้นึกเอาไว้ว่าเกมนี้ ผู้เล่นมีกองทิ้งการ์ดแอคชั่นอยู่สามกอง

ผู้เล่นจะเริ่มตาตัวเองโดยเลือกการ์ดที่อยากทำออกมาสามใบมาไว้หน้าตัวเอง เสร็จแล้วก็เปิดขึ้นมาพร้อมกัน จากนั้นก็ผลัดกันเลือกทำแอคชั่นจากการ์ดที่เลือกไว้ หรือไปทำแอคชั่นกลาง ทีล่ะคน วนไปเรื่อยๆ จนทุกคนใช้แอคชั่นหมด

เมื่อทุกคนผ่านแล้ว เราจะต้องเลือกหยิบ “กองทิ้งการ์ด” (ที่มีสามกอง) ขึ้นมือมาหนึ่งกอง จากนั้นเราจะเลื่อนการ์ดที่เราใช้ในตานี้ทิ้งแยกกระจายกันไปคนล่ะกอง

ส่วนที่ทำให้เกมนี้ยากและเป็นความสนุกสุดๆในเวลาเดียวกัน ก็คือการเลือกทิ้งการ์ดให้ถูกกอง กับการวางแผนรวบขึ้นมาในจังหวะที่ต้องการใช้

การหาจังหวะที่ใช่ กับการเรียงคอมโบล่วงหน้า พร้อมๆกับการดูว่าคนอื่นกำลังเรียงท่าไหน จะหยิบขึ้นมาเมื่อไร

แต่เท่าที่เห็นส่วนมากแค่คิดของตัวเองก็จะตายแล้ว


ว่าแต่จะเรียงการ์ดล่วงหน้าไปทำไม? ค่อยๆเล่นตามหน้างานไม่ได้เหรอ?

ในบรรดาแอคชั่นส่วนกลางของเกมนี้ จะมีกลุ่มหนึ่งที่ผู้เล่นจะทำได้ต่อเมื่อในการ์ดแอคชั่นที่หงายอยู่ของคุณมีจำนวนมูลค่ารวมของการ์ดชนิดเดียวกัน “เยอะที่สุด” โบนัสของมันคือสิทธิ์ในการเดินแทรคหุ้นในบริษัทที่เกี่ยวของฟรีๆ

ส่วนการเดินแทร็คหนังสือมีข้อกำหนด ว่า ขั้นแรกว่าเราต้องซื้อไทล์สมุดจากกองกลางมาวางที่แทร็คของเราก่อน ที่นี้การจะเลื่อนตัวเดินไปข้างหน้าแต่ล่ะช่องได้เราจะต้องมีการ์ดที่กำลังหงายอยู่ตรงกับความต้องการของไทล์สมุดนั้นๆ ถ้าเราเรียงไว้ดีพอในการเดินแต่ล่ะครั้งเราก็จะเดินหน้าไปได้หลายช่อง

กุญแจของความสำเร็จในเกมนี้คือการวางแผนล่วงหน้าหลายชั้น


จุดที่ต่างจากเกมถือหุ้นในเกมอื่นคือเมื่อเราเดินแทรคหุ้นไปถึงจุดๆหนึ่งของแต่ล่ะบริษัท เราก็จะสามารถใช้ความสามารถพิเศษของแต่ล่ะบริษัทได้ด้วย

ด้วยความที่ผู้เล่นไม่ได้เป็นเจ้าของบริษัทแต่ใช้ระบบปริมาณหุ้น ระหว่างเกมก็จะเจอกับระบบความร่วมมือหลวมๆจากผู้เล่นที่ถือหุ้นบริษัทสีเดียวกันอยู่บ่อยๆ เพื่อช่วยกันควบคุมราคาหุ้น

การเลือกที่จะไปช่วยดันหรือตัดบริษัทไหน นอกจากจะต้องคอยดูว่าใครถือหุ้นไหนเยอะแล้ว ก็ต้องดูด้วยว่าเราอยากได้ท่าพิเศษอะไรไว้ใช้ด้วย และการที่ท่าพิเศษของแต่ล่ะบริษัทใช้ได้แค่ครั้งเดียวต่อรอบ พวกถือหุ้นใหญ่เองก็ต้องกะน้ำหนักลำดับแอคชั่นให้ดีว่าจะไปทำอย่างอื่นก่อน หรือจะรีบใช้ความสามารถของบริษัทก่อนดี แต่ก็อย่างที่บอกไว้ตอนต้น ยิ่งถือหุ้นเยอะเวลาบวกก็ได้แต้มเยอะ เวลาตกก็เจ็บหนัก


ส่วนที่ไม่ชอบ

แต้มเกมนี้มาจากสามแหล่งใหญ่ คือหุ้น / เพชร / หนังสือ ปกติผู้เล่นจะทำแต้มหลักจากหุ้นเป็นสายหลัก ส่วนสายรองก็มักจะเลือกหนักไปทางเพชร หรือหนังสือไปเลย

ความเหี้ยคือ แต้มหนังสือ กับเพชร สูงสุด 50 แต้มเท่ากัน แต่ระดับความยากในการเดินต่างกัน 3 เท่า!!

คือการเดินเพชรเนี่ยแค่มีการ์ดพ่อค้า กับคอยวางบ้านเก็บโบนัสเดินแทร๊คไปเรื่อยๆ เรียบๆไม่มีปัญหาอะไร

แต่แทรคหนังสือ เราต้องค่อยเล็งหยิบหนังสือที่ตรงกับที่อยากได้ (หยิบจากกองกลาง มีการเติมแบบ group-random) ตอนจะเดินก็ต้องจัดของให้ตรงอีก ที่นี้ของที่จะจัดเนี่ยมักจะหน้าตาไม่ตรงกัน อย่างเช่น กล้วย 2 กาแฟ 2 เราก็ต้องเสียพื้นที่ในการวางการ์ดให้ตรง กลายเป็นว่าถ้าจะเดินหนังสือ เราก็มักจะไม่ได้โบนัสพิเศษเวลามีของเยอะสุด

คือถ้าจะให้แต้มมันเท่าๆกันมันก็น่าจะเล่นยากเท่าๆกันสิ


How I feel

ถ้าไม่ติดเรื่องเจอผู้เล่น AP แล้วเกมนี้ก็เป็นเกมแน่นๆสนุกๆใช้เวลาราวๆ 90-120 นาที (แต่ถ้าเจอ AP เกมอาจจะลากยาว) แต่ส่วนตัวคิดว่า weight ไม่น่าถึง 3.8 น่าจะซัก 3.5

กลยุทธ์ในเกมมีหลากหลาย ความสามารถพิเศษของแต่ล่ะบริษัทก็บาลานซ์ดี (ในเกมมีความสามารถพิเศษ 8 อย่างวางสุ่มสลับกันไปในแต่ล่ะบริษัทตอนเริ่มเกม) ที่สำคัญคือดวงน้อยดี (เว้นเรื่องไทล์หนังสือไว้หน่อย แม้ตัวเกมมีระบบความเสี่ยงเรื่องนี้ไว้แล้ว แต่ก็ต้องคิดเยอะจนเหนื่อย กับลุ้นเยอะอยู่ดี)

ที่ชอบคือสัดส่วนการวางแผนล่วงหน้า กับการเล่นหน้างานทำออกมาดีรู้สึกเครียดๆทุกครั้งเวลาจะทำอันไหนก่อนหลังดี ยิ่งรู้ด้วยว่าอีกฝั่งในมือมีอะไรนี้ยิ่งสนุก ตัว token ทำแอคชั่นกลางให้มาน้อย คือแค่ 2 อัน เวลาจะเลือกทำอะไรนี้ต้องคิดหน้าคิดหลังเยอะมากเพราะอะไรๆก็น่าทำ

เลือกเสร็จแล้วบ่น “ฉิบหาย……แอคชั่นไม่พอ” ก็อย่างบ่อย

Sisada Ransibrahmanakul

Sisada Ransibrahmanakul

โปรแกรมเมอร์ขี้บ่นที่ชอบเล่นเกมกระดาน

-->