Mexica - ธรณีนี่นี้ ข้าขุดคลอง
เกมจากคู่ออกแบบเกมระดับตำนานอย่าง Wolfgang Kramer กับ Michael Kiesling ที่มีเกมที่พูดชื่อไป ยากมากที่จะไม่รู้จักซักเกม โดยเกมนี้เป็นหนึ่งใน Mask Series อันประกอบด้วย Tikal , Mexica , Java (หลังจากนั้นมี Tikal II และบางทีก็จะนับรวม Torres ไปด้วย) แต่ตอนนี้ IELLO เอามาทำใหม่กล่องไม่ใช่หน้ากากล่ะ
ทุกเกมในซีรี่ย์นี้มีแนวคิดหลักแบบเดียวกันคือ Action Point Allowance System หรือระบบที่ผู้เล่นแต่ล่ะคนจะได้รับแต้มเท่ากัน แล้วแบ่งไปใช้ทำ action ต่างๆที่ใช้ cost แต้มไม่เท่ากัน แล้วก็เป็นระบบที่เอื้อความเป็น Analysis Paralysis จนมีเอามาล้อกันบ่อยว่าซี่รี่ย์นี้มัน AP (Action Point)
ส่วนสาเหตุที่เรียกซีรี่ย์หน้ากากก็ไม่มีอะไรมาก เพราะปกสามเกมนี้ทำเป็นรูปหน้ากากหมอผีตามธีมของแต่ล่ะเกมนั้นเอง (ส่วนข้อเท็จจริงอีกประการคือเรื่องธีมกับหน้ากากนี้เป็นแค่ไอเดียของ publisher เท่านั้นไม่ได้เกี่ยวอะไรกับคนออกแบบเลย)
“เป็น Area Control ที่โคตรเปิดกว้าง”
เกมนี้ให้เราเป็น Pilli Mexica ชนชั้นสูงแห่งอณาจักรเม็กซิโกโบราณที่จะต้องมาเนรมิตแม่น้ำลำคลองและวิหารในแถบทะเลสาบ Texcoco ประเทศเม็กซิโก ระบบแต้มหลักของเกมนี้คือ Area Control แต่สิ่งที่ไม่เหมือน area control เกมอื่นคือความเปิดกว้างของพื้นที่โดยเริ่มจากจากกระดานโล่งๆ พร้อมกับคนงานคนล่ะตัว ผู้เล่นจะต้องมา”ช่วย”กันขุดคลองตีเส้นซอยออกเป็นพื้นที่เล็กๆจากนั้นค่อยมาแข่งกันสร้างวิหารเพื่อแย่งชิงพื้นที่กัน
อย่างที่บอกไว้ว่าระบบ action ของเกมเป็นแบบ action point allowance แต่ล่ะตาผู้เล่นจะได้รับ “แต้ม” มาใช้ตาล่ะ 6 แต้ม เมื่อใช้จนหมดก็จะวนไปตาผู้เล่นคนต่อไป โดยสิ่งที่เราสามารถทำได้ก็คือ
- จ่าย 1 แต้ม เพื่อสร้างคลอง
- จ่าย 1 แต้ม เพื่อสร้างหรือย้ายสะพาน
- จ่าย 1-4 แต้ม เพื่อสร้างวิหารความสูงเท่ากับแต้มที่จ่ายไป โดยต้องสร้างติดกับตัวคนงานของเรา
- จ่าย 1 แต้ม เพื่อเคลื่อนที่คนงาน 1 ช่อง
- จ่าย 5 แต้ม เพื่อวาร์ปคนงานของเราไปไหนก็ได้
- จ่าย 1 แต้ม เพื่อ “save” แต้มของเราไปใช้ตาหน้า
เกมนี้แบ่งออกเป็นสองครึ่ง คิดแต้มทุกครั้งที่จบครึ่งเกม
[caption id=”attachment_4012” align=”aligncenter” width=”3728”] พื้นที่ตอนต้นเกม เราจะเริ่มต้นที่กระดานโล่งๆแบบนี้ล่ะ ป้ายตัวเลขทางขวาคือขนาดพื้นที่สำหรับเกมครึ่งแรก (สุ่มมาครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งจะใช้ตอนครึ่งหลังของเกม)[/caption]
“พื้นที่สั่งทำได้”
หนึ่งในงานหลักของผู้เล่นคือการที่จะต้องวางไทล์คลองไปในกระดานเพื่อล้อมกรอบพื้นที่ แต่ไม่ใช่ว่าจะทำแบบไหนก็ได้นะ เพราะตัวเกมจะมีป้ายบอกไซส์พื้นที่อยู่จำนวนหนึ่ง พอทำการล้อมพื้นที่จนได้ขนาดตรงกับป้ายที่ยังเหลืออยู่ เราก็จะสามารถออกโฉนดโดยการเอาป้ายมาวางไว้ที่พื่นที่นั้น หลังจากนั้นแล้วพื้นที่นั้นจะไม่สามารถถูกปรับเปลี่ยนขนาดอีกตลอดเกม
เรามีวิหารจำนวนจำกัด มีความสูงสี่ระดับ เวลาจะวางก็ต้องใช้แต้มในการวางเท่ากับขนาดความสูงของวิหารที่เราจะวาง และต้องวางติดคนงานของเรา (การวางแผนการเดินจึงสำคัญมาก) ทีนี้ในตอนคิดแต้มเกมจะนับเฉพาะพื้นที่ที่มีการวางป้ายขนาดแล้วเท่านั้น ผู้เล่นที่มีแต้มรวมของวิหารเยอะที่สุดจะได้คะแนนเท่ากับขนาดของพื้นที่ ส่วนลำดับที่สอง ที่สามก็จะได้แต้มลดหลั่นกันไป ส่วนที่สี่จะไม่ได้อะไร ส่วนตัวเลยคิดว่าเกมนี้ 4 คนน่าจะสนุกที่สุดแล้ว
คนวางป้ายก็ได้แต้มด้วยตรงนี้ก็ถือว่าสมดุลย์ดีเพราะว่าโดยปกติแล้วคนวางป้ายมักจะไม่เหลือแต้มพอสำหรับสร้างวิหารเพราะเอาแต้มไปขุดคลองหมดแล้ว
จุดเด่นอีกอย่างคลองในเกมนี้คือ นอกจากจะเป็นเส้นแบ่งเขตแดนแล้ว ยังทำหน้าที่เป็น “ถนน”เอาไว้ให้คนงานเราเดินทางด้วย
ในเกมนี้เวลาจะเดินข้ามน้ำเราต้องใช้สะพาน ในช่วงแรกเราจะสร้างจ่ายแต้มเพื่อสร้างสะพาน พอสร้างหมดเกมจะให้เราย้ายสะพานที่มีอยู่แล้วในกระดานแทน และตัวสะพานนี้ยังทำหน้าที่เป็นท่าเรือด้วย เวลาเราไปหยุดที่ตรงสะพานเราสามารถที่จะไหลไปตามคลองได้เรื่อยๆจนไปหยุดที่สะพานอันต่อไปได้ การวางระบบคลอง กับการวางตำแหน่งสะพานให้เราใช้แต้มน้อยที่สุด (หรือวางสะพานขวางให้ผู้เล่นคนอื่นต้องหยุดพักบ่อยมากที่สุด เพราะเวลาเดินทางต้องหยุดที่สะพานทุกครั้ง) ก็เป็นความสนุกอีกอย่างในเกมนี้
[caption id=”attachment_4015” align=”aligncenter” width=”5456”] •หลังจากวางคลองกำหนดพื้นที่เรียบร้อยเราจะเริ่มวางวิหารแข่งกันยึดพื้นที่
•คนงานสีเหลืองที่ยืนบนสะพานสามารถล่องไปตามน้ำแล้วหยุดที่สะพานทางขวาได้โดยใช้เพียงแค่แต้มเดียวเท่านั้น
•ป้ายแปคเหลี่ยมคือป้ายกำหนดพื้นที่หลังจากวางแล้วเราจะไม่สามารถเปลี่ยนขนาดของพื้นที่ได้อีก[/caption]
“Classic , No Luck , Lot of Surprises”
เป็นหนึ่งในเกมระดับคลาสสิคที่ผมชอบมาก ดวงไม่มี วิธีการเล่นเข้าใจง่าย ตัวเกมก็ระดับ mid ทั่วไปแต่ว่าลึก และเฉือดเชือนกันโคตรมันส์ ข้อเสียและข้อดีของเกมนี้คือไดนามิคสูงมาก ด้วยความอิสระในการทำมูฟของเกมทำให้เป็นการยากมากๆที่คุณจะคาดเดาแผนของผู้เล่นคนอื่นได้ทั้งหมด คือไอ้โมเม้นแบบ”โดนแล้วไงกู” นี้เจอได้บ่อยมากในเกมนี้ ที่ว่าเป็นข้อเสียก็คือความที่มันคาดเดาได้ยากผู้เล่นสาย AP ก็มักจะพยายามคิดแล้วคิดอีกคิดอยู่นั้นจนนานเกินจำเป็นได้ง่ายๆ
ผมชอบระบบการจัดวางพื้นที่ของเกมนี้ตรงที่พื้นที่ขนาดใหญ่แม้ว่าจะได้แต้มเยอะ แต่ก็แปลว่ามันมีพื้นที่ว่างให้คนอื่นเอาวิหารมาวางได้เหมือนกัน ด้วยจำนวนวิหารที่มีจำกัดและทุกคนมีจำนวนเท่ากัน ทำให้เราต้องวางแผนว่าจะเน้นวิหารเล็กๆจำนวนมากเพื่อลดพื้นว่างกันคนอื่นมาแย่ง หรือจะเอาวิหารแต้มสูงเพื่อยึดพื้นที่ขนาดเล็กที่มีเหลืออยู่น้อยก็ได้
ระบบคลองเกมนี้ผมรู้สึกว่าทำออกมาฉลาดดีเพราะใช้งานได้หลาย function มากทั้งซอยพื้นที่ ทั้งระบบคมนาคม การวางตัวของคลองยังเป็นตัวจำกัดการวางของสะพาน อันเป็นผลต่อเนื่องไปสู่การเดินทางของคนงานเพื่อเข้าหาพื้นที่ในการวางวิหารอีก คือเวลาเล่นแล้วรู้สึกว่าระบบมันรับส่งกันลื่นไหลดี
กติกาพื้นฐานอย่างหนึ่งของเกมนี้คือการห้ามเดินผ่านวิหารกับคนงานของคนอื่น ตรงนี้ก็ยิ่งเพิ่มลึกในการใช้กลยุทธ์ใช้แต้มแต่ล่ะตาในการวางตัวคนงานเข้าไปอีก เพราะมูฟพื้นๆอย่างการไปยืนขวางสะพาน หรือสร้างวิหารขวางทางเดินเข้าออกอาจจะทำให้อีกฝ่ายต้องเสียแต้มในการเดินอ้อม หรืออาจจะต้องจ่าย 5 แต้ม (80% ของแต้มในหนึ่งตา) เพื่อวาร์ปคนงานออกจากที่อับ
ข้อเสียที่ผมเจอระหว่างเล่นทุกครั้งน่าจะเป็นเรื่องที่ในตาแรกๆมันเปิดกว้างมากเกินไป เพราะเริ่มเกมมากับพื้นที่โล่งๆ อยากจะทำอะไรก็ได้ แต่แต้มเราไม่มีทางพอที่จะล้อมพื้นที่ได้เองด้วยตัวคนเดียว มูฟแรกๆของแต่ล่ะคนเลยจะออกแนวมั่วๆนิดนึงเพราะไม่รู้จะทำอะไรดี การเล่นผู้เล่นคนแรกเลยค่อนข้างเสียเปรียบพอควรเพราะไม่มีทางรู้เลยว่าคนข้างหลังจะทำอะไรบ้าง
โมเม้นแบบที่นึกว่าเราชนะเขตนี้แน่ๆ แต่ว่าเจอผู้เล่นอื่นยอมจ่ายแต้มเกือบทั้งตาเพื่อ วาร์ป มาสร้างวิหารใจกลางดินแดนเราแล้วเฉือนชนะไปนี้เป็นอะไรที่ตื่นเต้นทุกครั้ง
ในอีกความรู้สึกนึงก็เหมือนเล่น หมากล้อม แบบ multiplayer เหมือนกันนะ ที่แต่ล่ะคนมีทรัพยากรเท่ากันมุ่งมาล้อมพื้นที่ทำคะแนน
* ในซี่รี่ย์นี้ส่วนตัวแล้วผมชอบ Mexica > Java > Tikal ตามลำดับ
[caption id=”attachment_4069” align=”aligncenter” width=”500”] ตัวใหม่ที่ IELLO เอามา reprint ใหม่นี้สวยดีนะ ตัววิหารเป็นเรซินลายหิน สะพานก็เป็นไม้ชิ้นๆ ทำเอาอยากซื้อใหม่เหมือนกัน (แต่ก็แอบคิดว่าสีดูยากไปนิด)
Image by bgg user bozelf1[/caption]