กลไกที่ผมชอบ - ระบบเทรดใน Mega Civilization

Sisada Ransibrahmanakul
Written by Sisada Ransibrahmanakul on
กลไกที่ผมชอบ - ระบบเทรดใน Mega Civilization

เปิดหัวข้อใหม่เน้นเขียนเกี่ยวกับระบบกลไกที่ใช้แต่ล่ะเกม เน้นเอาแต่ที่ผมสนใจ พยายามจะเขียนในแง่ว่าไม่รู้จักเกมมาก่อนก็พอเข้าใจได้ว่ากลไกมันทำงานยังไง กับพยายามเขียนให้สั้นๆ(เอาจริงๆคือบางทีเขียนทั้งเกมมันยาก เขียนแค่ประเด็นที่ชอบมันเร็วกว่า ไม่ต้องเรียบเรียงเยอะ….ฮา) เนื่องจากเกมไม่อยู่กับตัวกับไม่รู้จะได้กางอีกเมื่อไรเลยต้องขอใช้รูปบางส่วนจาก BGG นะครับ


 

Civilization เกมเก๋ากึกตั้งแต่ปี 1980 (37 ปีเท่านั้นเอง……) จากนักออกแบบเกมผู้ให้กำเนิดเกมลงทุนชื่อดังอย่าง 1829 และ 1830 จนกลายมาเป็นซี่รี่ย์ 18XX

ธีมของเกมว่าด้วยการสร้างอารยธรรมสมัยโบราณของประเทศแถบตะวันออก เราก็จะนำพาผู้คนของเราขยายดินแดน สร้างเมือง ค้าขาย เพื่อศึกษาวิจัยเทคโนโลยี ให้มากที่สุดเพื่อที่ตอนจบเกมแล้วจะได้มีหลักฐานทางโบราณคดีให้คนรุ่นหลังได้เห็นว่าเราชนชาติของเราเคยรุ่งเรืองมากเพียงใด

ตัวเกมพึ่งเอามีคนเอามาทำใหม่ในชื่อ Mega Civilization ตอน Essen15 ผมเองก็พึ่งมีโอกาสได้เล่นตอน Mega Civ เนี่ยล่ะเพราะมีพี่ใหญ่ใจดีอยากได้ กับมีเพื่อนบินไปหิ้วมาจาก Essen เกมเล่นนาน (8-12 ชั่วโมงสำหรับเกมเต็มและ 5-8 สำหรับเกมสั้น) แต่สนุกสัดๆ

“เป้าหมายของการแลกเปลี่ยน คือทำ Set Collection”

แกนหลักของเกมนี้ผู้เล่นจะทำ set collection ของการ์ดสินค้า ยิ่งมีสินค้าซ้ำกันเยอะยิ่งแลกได้แต้มเยอะ เสร็จแล้วเอาแต้มที่ว่าไปแลกเป็นการ์ดเทคโนโลยีที่จะให้ทั้งความสามารถพิเศษแล้วก็เป็นแต้มหลักตอนจบเกมด้วย

ตัวการ์ดเทคโนโลยีเวลาซื้อแล้วก็จะมีส่วนลดให้การ์ดเทคโนโลยีแต่ล่ะสายแตกต่างกันไป ยิ่งวิจัยสายเดียวกันก็จะยิ่งได้ส่วนลดทบกันไปเรื่อยๆ ระบบตรงนี้ก็น่าสนใจดี เกมหลังๆก็เอาแนวคิดนี้มาใช้กันหลายเกม แต่พอดีไม่ใช่พระเอกของบทความนี้ (ไอ้ตรงนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นของระบบ Tech Tree ที่ Sid Meier เอาไปใช้ใน Civilization ฉบับ PC คือไอ้สองเกมนี้ไม่เกี่ยวกันนะแค่ชื่อเหมือนกัน เลยมีเรื่องให้ฟ้องร้องกันยาวมาก)

ทีนี้เกมมันมีกองการ์ดสินค้า 9 กอง 9 level แต่ล่ะกองก็จะมีกลุ่มสินค้าของตัวเองไม่ปนกัน อย่างเช่นทอง/เงิน จะอยู่กองที่ 8 เท่านั้น หนังสัตว์/ไม้/หิน ก็อยู่กองที่ 2 เท่านั้น หากองอื่นไม่ได้ ตามธีมก็คือของดาษๆหาได้ทั่วไปจะอยู่กองล่างๆ ส่วนกองสูงๆ ก็จะเป็นของที่ต้องมีอารยธรรมหน่อยถึงมีได้

เวลาจั่วเกมจะให้ผู้เล่นดูว่าตัวเองมีเมืองอยู่กี่เมือง ก็จะได้จั่วเท่านั้น กองล่ะใบ ถ้าเรามี 4 เมืองเราก็จะได้จั่วกอง I II III IV อย่างล่ะใบ ทีนี้เดี๋ยวผมสรุปย้อนความจำให้อีกที

  • คือเราอยากได้ของใบเดิมซ้ำๆ จะได้แต้มเยอะๆ
  • ของซ้ำๆมันจะอยู่กองเดียวกัน
  • แต่เกมมันให้เราจั่วแยกกองนิหว่า
  • เราเลยต้องมาเทรดกัน

นี้ยังไม่รวมเคสที่ว่าเราดันเล่นดีเกินไป เมืองเยอะกว่าคนอื่นเลยกลายเป็นของมีของที่คนไม่มีจะเทรดด้วย อีกนะ

“เกมออกแบบมาให้คุณต้องแลก แม้ว่าเสี่ยงที่จะเจ็บตัว”

ตัวเกมจะเปิดช่วงเวลาเทรดแบบจับเวลาจริง (ตัวเกมแนะนำให้ตั้งไว้ 7 นาที) ระบบเทรดก็ไม่มีอะไรยุ่งยาก คุยกันปากเปล่า นายมีโน้น มาแลกนี่กับเราไหม ก็เจรจาตลาดสดกันไป (นึกถึง Chaina Town ไว้) พอปิดดีลก็แลกกัน โดยต้องแลกกันขั้นต่ำครั้งล่ะ 3 ใบ ระหว่างคุยไม่มีการเปิดการ์ดให้ดู และต้องส่งมอบกันแบบปิด……..

คุณอาจจะถามว่า…….เห้ยทำไมต้องปิดว่ะ?

เพราะเกมนี้บอกว่าเวลาแลกของคุณต้องการันตีว่าส่งมอบจริงอย่างที่สัญญาไว้ 2 ใบ ส่วนที่เหลือจะยัดอะไรก็ได้

คุณอาจจะถามว่า…….เห้ยทำไมต้องตอแหล่ ยัดไส้การ์ดล่ะ?

คืองี้ในกองจั่วแต่ล่ะกองจะมีการ์ดที่เรียกว่า Calamities (ภัยพิบัติ) พอจบเทรดใครถือไว้ก็ไล่ resolve ความฉิบหายกันไปเรื่อยๆ ตัว effect ค่อนข้างแรงแต่บางทีก็ไม่เกี่ยวกับเรา แถมส่วนมากให้เราลากคนอื่นมาซวยได้ด้วย บางทีก็เกิดผลกับไอ้คนที่นำๆอยู่เป็นหลัก

คือเกมนี้อารมณ์ตอนเล่นมันแนว เมืองรุ่งเรือง -> เอ้าโดนภัยธรรมชาติถล่มหายไปครึ่งนึง -> กลับมาสร้างใหม่วนลูปอยู่แล้ว เพราะเกมนี้แต้มมาจากการ์ดเทคโนโลยีเป็นหลัก (คุณเลยต้องมานั่งจัด set แลกของไง) การสร้างเมืองขยายดินแดนมันเป็นแต่ tool ที่พาให้เราได้จั่วการ์ดกองหลังๆเท่านั้น

คือมันสนุกนะ เจรจาแลกของพร้อมทำหน้า poker face เนี่ย (mindset เกมนี้ปกติแล้วคนที่แลกบ่อย และแลกอย่างฉลาด เลือกเจ็บตัวตามสมควรมักจะชนะ)

Sisada Ransibrahmanakul

Sisada Ransibrahmanakul

โปรแกรมเมอร์ขี้บ่นที่ชอบเล่นเกมกระดาน

-->