Automotive Factory Game

Sisada Ransibrahmanakul
Written by Sisada Ransibrahmanakul on
Automotive Factory Game

เกมแนว Worker Placement บริหารธุรกิจสร้างโรงงาน เป็นเกมที่ถูกพัฒนาเพื่อใช้สอน business thinking ให้แก่นักศึกษา ป.โท และ เอก โดยตัวเกมจะเกี่ยวกับการบริหารโรงงานด้วยธรรมาภิบาล วิทยาลัยพาณิชย์ศาสตร์๚ (GSC) ม.บูรพา (ยกข้อความบางส่วนมากจากเพจของผู้พัฒนา)

อันนี้สำคัญ: ตามความเข้าใจของผมแล้ว ‘เกม’ ฉบับที่ผมเล่นนี้เป็น ‘เครื่องมือ’ ที่เอาไว้สอนหรือเพื่อสะท้อนผลงานวิจัย จึงน่าจะมีข้อจำกัดในการออกแบบระบบเกมในระดับหนึ่ง รวมไปถึง ณ ตอนที่ทดลองผมเล่นแค่สองคนซึ่งไม่ใช่จำนวนที่ optimal สำหรับเกมเท่าไร (ผู้พัฒนาแจ้งว่า 4-6 ดีกว่า) รวมไปถึงตอนสอนมีการใช้กติกาผิดชุดนิดหน่อยเลยทำให้จำนวนช่องลงแอคชั่นเหลือเยอะไม่ต้องแย่งกัน เลยเล่นสบายไปหน่อย เอาเป็นว่าจะเขียนแค่ว่าเกมมันเล่นประมาณไหนล่ะกัน แค่อยากให้ไม่ลืมไว้เฉยๆว่าความเป็นสื่อบันเทิงอาจจะไม่ใช่ฟังชั่นหลักของการออกแบบเกมนี้


ธีมเกมนี้คือเราเป็นผู้ประกอบการที่จะต้องมาผลิตสินค้าส่งตามออเดอร์ที่รับมา รูปแบบเกมก็ Worker Placement เลย ก็เอาคนงานไปลงช่องทำแอคชั่นได้แก่ ช่องลงรับออเดอร์ที่เปิดมาล่วงหน้า (ธีมว่าเป็นเครื่องจักร รถยนต์) แต่ล่ะรายการก็จะต้องใช้ส่วนประกอบเครื่องจักร 5 แบบในจำนวนที่แตกต่างกัน ที่เหลือก็คือช่องไปสั่งโรงงานมาผลิตของให้เรา หรือเราจะเลือกไปสร้างโรงงานเองก็ได้ ข้อดีคือไม่ต้องแย่งช่องกับคนอื่น แถมถ้าสร้างโรงงานซ้ำๆกันเราสามารถลงคนงานครั้งเดียวแต่ผลิตได้หลายชิ้น ที่เหลือก็คือเอาเงินไปโปรยทำ CSR ทำแต้ม

กิมมิคเพื่อสร้างสภาพแข่งขันเทียมในเกมนี้จะใช้ระบบสุ่มเปิดการ์ดมาจำนวนหนึ่งเพื่อปิดช่องแอคชั่นบางช่อง แต่เนื่องจากเป็น deck เราเลยพอจะบริหารความเสี่ยงได้ในระดับหนึ่งว่าใบไหนออกไปแล้วบ้าง

จุดเด่นสำคัญที่ผมชอบของเกมนี้คือระบบอายุใบออเดอร์กับอายุของตัววัตถุดิบที่จะลดลงเรื่อยๆ ทุกตาเวลาเราไปรับออร์เดอร์กับผลิตของเราเลยต้องกะจังหวะเวลาของอายุพวกนี้ให้ดีไม่งั้นจะเสียแต้มกับเสียเวลาผลิตของไปฟรีๆ เกมใช้วิธีวางการ์ดกับโทเคนไว้บนบอร์ดที่เลื่อนได้ช่วยในการแทรคตรงนี้เลยไม่ต้องปวดหัวค่อยดูให้ยุ่งยาก


ผมเข้าใจว่าเกมนี้น่าจะประสบความสำเร็จในแง่การออกแบบเพื่อตอบโจทย์วิชาการ (อิงจากที่ผู้พัฒนาแจ้งไว้) แต่ในเชิงการเล่นเพื่อเป็นสื่อบันเทิงอย่างเดียวยังขาดจุดเร้าใจหลายอย่าง คือเกมมันแห้งมาก นึกอะไรไม่ออกโยนไปบอกอ้อเพราะทำแล้วได้แต้มครับ ซึ่งในมุมนี้อารมณ์ตอนเล่นมันค่อนข้างซ้ำๆนิ่งๆ พวก order ใหญ่ๆเองก็ใช้แอคชั่นเยอะมากเทียบกับเงินที่ได้มา โรงงานจ้างเค้าทำกับโรงงานสร้างเองดันใช้ต้นทุนเท่ากันอีกคือก่อนจะคุ้มอ่ะเราต้องสร้างเครื่องจักรเดิมๆซ้ำๆกันอย่างน้อยสองใบก่อนเพื่อประหยัดจำนวนแอคชั่นคนงาน แต่เพราะการ์ดโรงงานมันดันออกแบบสุ่ม แถมใบออเดอร์ก็ออกแบบสุ่มอีกต่างหาก คำถามมันเลยวนๆกันไปมาเป็น dead lock สรุปจ่ายเงินซื้อโรงงานใน design ตอนนี้ออกจะดูเสี่ยงโชคเยอะไปหน่อย หรือไม่ก็ซื้อมา ‘เผื่อ’ ว่าช่องที่เราอยากได้จะโดนปิด ในมุมนี้ผู้พัฒนาแจ้งว่าเพราะของออเดอร์มันจะออกมาคล้ายๆกัน แต่ผมมองว่าในเชิงเกมแล้วมันก็คือเสี่ยงดวงอยู่ดี แถมไม่คิดว่ามันจะตามธีมอะไร แล้วในความเป็นจริงเราจะตั้งโรงงานมาทำไมถ้าไม่รู้ว่าจะมีรายได้มาจากไหน ซึ่งเห็นว่าตัวเกมมีเปิดระบบแลกเปลี่ยนระหว่างผู้เล่นด้วย กับมีไอเดียการสร้างตลาดกลางไว้ซื้อขายสินค้าผลิตเกิน แต่อันนี้ผมไม่แน่ใจว่าจะทำให้เกมมัน monotone ไปหรือปล่าว

ในฐานะเกมเอาสนุกโดยรวมอิงจากที่เล่นมากับมโนๆเอาว่าถ้ากติกาตามที่ควรจะเป็นกับจำนวนผู้เล่น optimal แล้วก็คิดว่าเกมมันค่อนข้างเรียบจนไม่มีอะไรค้นหา รวมไปถึงไม่สามารถขับความเป็น Economic Game ออกมาได้ กลายเป็นเกมทำ Set Collection ส่งของธรรมดาๆ ไม่มีคอมโบอะไร จะสร้าง Engine ก็ไม่ต่างจากสร้างไปมั่วๆแล้วหวังว่าจะมีประโยชน์ (เพราะไม่มี path และ long term goal อื่นจากเอาตัวรอดแล้วจ่ายเงินซื้อแต้ม) คือในแง่เชิงเกมแล้วนึกไม่ออกจริงๆว่ามันจะไปสื่อการทำการค้ายังไงหว่า ตั้งโรงงานโง่ๆจ่ายอย่างแพงโดยที่ไม่มีการตกลงหรือรู้ Order ระยะยาวก็ได้เหรอ? หยิบมากองๆไว้ก่อนก็ไม่ได้เพราะออเดอร์จะหมดอายุก่อนที่จะได้สร้างโรงงาน แต่ไอเดียเรื่องอายุ Order กับอายุสินค้าก็ถือว่าน่าสนใจดี (อันนี้ชอบมาก) ถ้าเอาไปลงกับเกมที่ตั้งใจทำเพื่อให้สนุกอย่างเดียวอาจจะได้เห็นการออกแบบที่น่าสนใจได้อีกเยอะทีเดียว (ขายของตลาดสดมะ?)


แต่นั้นแหละเพราะตัวเกมมันเป็นเครื่องมือมากกว่าจะเป็นสื่อบันเทิงเลยไม่ต้องสน comment ผมมากก็ได้ เพราะเป็นการเอากรอบที่ตัวเครื่องมือไม่ได้ถูกออกแบบไว้มาคุย (ในที่นี้คือบอร์ดเกมเล่นเพื่อสนุกอย่างเดียว) แต่เท่าที่ฟังจากผู้พัฒนาก็ดูจะมีแนวคิดในการขยายและปรับปรุงเกมอีกเยอะ ก็ต้องลองติดตามกันต่อไปครับ

 

Sisada Ransibrahmanakul

Sisada Ransibrahmanakul

โปรแกรมเมอร์ขี้บ่นที่ชอบเล่นเกมกระดาน

-->