Age of Steam ยาขมของ Martin Wallance
Update 2019-03-15 ล่าสุดคือทางมาร์ตินได้ประกาศว่าทุกอย่างจบลงแล้วผ่านการคุยกับ Eagle-Gryphon Games โดยที่ตัวมาร์ตินเองยินยอมให้มีการใช้ชื่อเค้าใน AoS ได้ (ซึ่งไม่ความจำเป็นต้องทำ เพราะ EGG ไม่มีภาวะผูกพันตรงนี้เนื่องจากทางกฎหมายแล้ว AoS ไม่ใช่ของมาร์ติน) ส่วนตัวคิดว่าคงมีการตกลงและจ่ายเงินจนเป็นที่น่าพอใจ และเป็นผลดีต่อชื่อเสียงของทั้งสองฝ่าย อ้างอิง: Resolution to the AoS Situation
TLDR#1; ตามกฎหมายแล้ว John Bohrer คือผู้ถือสิทธิในเครื่องหมายการค้า Age of Steam ในขณะที่ Martin Wallance อ้างว่า John เป็นคนขโมยสิทธินี้ไปจากเค้าโดยการเล่นทริคทางกฎหมาย
สรุปมีแค่นี้ถ้าอยากรู้เยอะกว่าอีกนิดดู TLDR#2 และถ้าอยากรู้อีกหน่อยก็อ่าน TLDR#3 “ทุกเรื่องมีสามด้าน ——————-
ด้านของคุณ ด้านของผม และความจริง”
TLDR#2; ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าสรุปว่าใครถูกใครผิด หรือใครพูดจริงหมด สาดโคลนกันเหมือนพี่เค้าอยู่กันคนล่ะโลก เพราะต่างฝ่ายต่างก็บอกว่าชื่อ Age of Steam เป็นของตัวเอง แต่ที่แน่ๆ มาร์ตินไม่ได้เงินจาก Age of Steam และเสียความควบคุมกับชื่อนี้ไปเป็นสิบปีแล้วเพราะเลือกที่จะไม่ต่อสู้ทางกฎหมายที่มีค่าใช้จ่ายสูง (จะเรียกว่าเกมแพ้ คนไม่ยอมแพ้ก็ได้มั้ง)…… เขียนมาตั้งยาวสรุปมีแค่นี้แหละ
ใครจะเป็นไอ้ขี้โกหกตัวจริงของเรื่องนี้กันแน่ ผ่านมาสิบปีแล้วยังไม่มีผลสรุปให้ได้เลย…..
ข้อความหลายส่วนอ้างอิงจากบทความ The AGE OF STEAM legal dispute, explained. แต่มีการแก้ไขและเรียบเรียงเพิ่มเติมข้อมูลบางส่วนโดยผู้เขียนเอง (บังเอิญเจอคนเค้าเขียนไว้ดีกว่าที่ผมดราฟไว้เยอะ เลยใช้โครงจากของเค้าแทนล่ะกัน แต่ blog อันนั้นก็เขียนมาตั้งแต่ปี 2009 แล้วไม่ได้มีข้อมูลของปี 2019 ผมเลยหามาลงเพิ่ม แล้วผมก็แทรกรายละเอียดที่ผมอ่านๆเจอมาแล้วมันขัดหรือเสริมกับตรงนั้นอีกที) TLDR #3; ถ้าอยากอ่านแบบสั้นๆแต่ผมเขียนแบบใส่ไข่พอให้เห็นภาพ (ซึ่งมีความคลาดเคลื่อนสูง แต่เชื่อว่าน่าจะช่วยให้เห็นภาพว่าทะเลาะอะไรกัน) เรื่องย่อแนวนิทานก็ประมาณนี้
มาร์ตินมีการออกแบบระบบเกมแบบหยาบๆ แล้วให้จอร์น (เจ้าของค่าย Winsome) คู่กรณีเอาไปพัฒนาต่อ ตรงนี้บทเดียวกันเพราะทั้งคู่พูดตรงกัน แต่เรื่องที่เหลือนี้มาคนล่ะผู้กำกับเลย
มาร์ตินบอกผมนี้แหละคนออกแบบระบบ แล้วจ้างจอร์นพัฒนาต่อ มีหลักฐานจ่ายเงินด้วย แล้วบอกว่าผมอยากช่วยเพื่อน เลยใส่ชื่อให้ว่า AoS นี้ได้สิทธิมาจากจอร์น ชื่อบริษัทเค้าจะได้ดังจากชื่อผม แบบเพื่อนช่วยเพื่อน
จอร์นบอกมาร์ตินมีแค่ต้นแบบเกมรถไฟกากๆ (ต้นทางใช้คำว่า execrable Brummie Rails game) ผมนี้แหละคนที่ใช้เวลานับปีพัฒนาจนเป็นเกม AoS สำหรับผมชื่อ Martin Wallance มันก็แค่นามแฝงที่ผมเอาไว้ซ่อนตัวเอง เพราะผมเป็นนักออกแบบที่ชื่อเสียงไม่ใช่เรื่องสำคัญ แถมได้ช่วยมาร์ตินเพื่อนผมสร้างชื่อด้วย แต่ผมไม่โง่นะเพราะทุกกล่องผมใส่ชื่อไว้แล้วมันงานของผม (Copyright by Winsome)
ซึ่งก็ยังพูดกันคนล่ะมุมมาจนบัดนี้
🐸 imho - เรียนตามอคติส่วนตัวตามตรงว่าอ่านแล้วรู้สึกว่าจอร์นดูมโนอย่างไรชอบกล แต่มาร์ตินที่บอกว่าช่วยบู๊สเพื่อนนี้ก็บ้าบอพอกัน ที่เรื่องทั้งหมดมันดูงงๆเพราะไอ้ “เพื่อนช่วยเพื่อน” เนี่ยแหละ
Pt1. ใครเป็นเจ้าของเกมนี้กันแน่?
ในหน้า FAQ บน Project KS ของเกม Age of Steam มีหัวข้อหนึ่งที่แจ้งว่า
Who has the right to publish Age of Steam?
ใจความว่าทางค่าย Eagle-Gryphon Games (เมื่อก่อนมีค่ายเกมชื่อ Engle Games ที่ต่อมาโดน FRED ซื้อไปแล้วกลายร่างเป็น Eagle-Gryphon Games ที่ต่อไปนี้จะเรียก EGG ชื่อพวกนี้จะวนไปวนมานิดนึงเพราะ timeline เรื่องนี้มันยาว) ได้รับสิทธิ์โดยตรงจาก John Bohrer ผู้ถือครองลิขสิทธิ์โดยตรงในการตีพิมพ์ (เจ้าของค่าย Winsome Games ต่อจากนี้เราจะเรียกว่า John)
เห้ยเดี๋ยว!!
แล้วชื่อ Martin Wallance (ต่อจากนี้จะเรียก Martin/มาร์ติน แล้วแต่คนเขียนสะดวกพิมพ์) หายไปไหน? หน้าปกก็ยังไม่เขียนชื่อเค้าเลย ไหนบอกว่านี้มันเกมสุดคูลของสุดยอดนักออกแบบคนนี้ไง? ที Vital Lacerda นักออกแบบทำเงินคนใหม่ของค่ายนี้แม่งเชียร์ชื่อคนออกแบบมากกว่าตัวเกมอีก
ในขณะเดียวกัน Martin ก็ได้โพสข้อความลงในฟอรั่มของ BGG ในหัวข้อ A word from the designer of Age of Steam (ที่กระทู้โดนล๊อกไปเรียบร้อย) มีใจความว่า
“เข้าเรื่องเลยนะ เกมนี้(AoS) ถูกขโมยไปจากผมโดย John Bohrer และถูกเอาไปใช้โดยปราศจากการยินยอมของผม และผมก็ไม่ได้ตังแม้แต่นิดเดียวจากเกมนี้
ส่วน Offcial Version เนี่ยชื่อ Steam และตอนนี้ลิขสิทธิ์อยู่กับค่าย FFG (Fantasy Flight Games) ซึ่งในอนาคตเดี๋ยวก็จะออกฉบับใหม่มาแน่นอน”
Hi folks,
As many of you will be relatively new to BGG some of you may not be aware of the history behind Age of Steam. To cut to the chase this game was stolen from me by John Bohrer and published without my consent by Eagle Gryphon. I receive no royalties from the sales of this game. The official version of the game is known as Steam and the rights are held by FFG. At some point in the future they may be releasing a new version of the game. Just something to mull over. Martin Wallace
แล้วมันเกิดอะไรขึ้น? เรื่องนี้ต้องถอยไปราวๆปี 2002 ที่เกมออกมาและช่วงปี 2006-2009 ที่เกิดมีการฟ้องร้องกันขึ้นมา
Pt2.ข้อเท็จที่พูดเหมือนจะคล้ายแต่ก็ไม่ใช่?
จากคำกล่าวของตัวมาร์ตินนั้น ตัวเกม Age of Steam ถูกออกแบบระบบโดย Martin Wallance แต่ในเกมฉบับตีพิมพ์ครั้งแรกโดยสำนักพิมพ์ Warfrog (ค่ายเก่าก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็น Treefrog) ด้านหลังกล่องได้ระบุว่าเกมได้รับลิขสิทธิ์มาจากค่าย Winsome ของ John Bohrer และทาง Winsome ก็ถือสิทธิ์บางส่วนหรือทั้งหมดในเกมนี้
แต่ทาง Martin ก็พูดอยู่เสมอว่าที่ทำไปนั้นเป็นการทำด้วยความหวังดีกับ John และเพื่อที่จะช่วยเสริมชื่อเสียงให้กับ Winsome และยอมรับว่าคนที่เขียนคู่มือและเจ้าของสิทธิ์ก็คือตัว John แม้ว่าคนออกแบบตัวเกมเองจะเป็น Martin (การเขียนคู่มือ กับการออกแบบระบบไม่จำเป็นต้องเป็นคนคนเดียวกัน) 🐸 แทรกความเห็นส่วนตัว - หลังจากนั้นแม่มก็คุยวนๆกันอยู่แค่แถวๆนี้แหละ แต่เอาจริงๆผมยังคืองงว่าจะไปช่วยบัฟอะไรขนาดนั้น ข้อมูลตรงนี้คุยกันคลุมเคลือมาก คือถ้าอ่านผ่านๆบางทีนี้จะนึกว่า Martin ไม่ได้ออกแบบซะด้วยซ้ำเพราะทั้งสองฝ่ายย้ำประเด็นนี้น้อยมาก มาคุยแค่เรื่องทางกฎหมายแทน
โดยหลักการแล้วพวกนี้เค้าสู้กันเพื่อ ‘ชื่อเครื่องหมายทางการค้าของ Age of Steam’ นะ เพราะอย่างที่ทราบกันถ้าตั้งใจจะก๊อปซักอย่างแค่คู่มือไม่ใช่ปัญหาอะไรเลย
เผื่อมีคนอยากคุยเรื่อง “แล้วอะไรห้ามไม่ให้คนก๊อปเกมกันโต้งๆ” ลองมาฟังคำจากนักออกแบบตัวจริงดู ref: A response and clarifications to my AoS post
You are correct, you cannot protect a design. Copyright only protects the expression of a set of rules, not the intent behind them. Trade mark protects a specific title, not the content. Thus you are right, there is no reason why EGG cannot go ahead and publish AoS. Having said that, that means any company can print any game they wish as long as they change the expression of the rules and the title. The only thing that stops most companies doing this is that it would hurt their image.
Pt3.ว่าด้วยการฟ้องร้อง
จากคำของ EGG และ John ทาง Martin เริ่มฟ้องร้องเกี่ยวกับเครื่องหมายทางการค้าของ Age of Steam ในช่วงปี 2007 แต่ว่าถูกตัดสินให้แพ้กับ John ในปี 2008 อันเป็นข้อยุติในทางกฎหมายว่า Martin ได้เสียสิทธิ์ในชื่อเกมของตัวเองไปเรียบร้อย รายละเอียดบางส่วนเกี่ยวกับเรื่องนี้ Re: 2009 Printing box front แต่ทางมาร์ตินแย้งว่าเค้ายังไม่เคยขึ้นศาลจริงๆซักครั้งเลยนะแค่มีการคุยกันผ่านทนาย(ดูกรอบด้านล่างเพิ่มเติม)
ณ ตรงนี้ Martin ‘เชื่อว่า’ เค้าเสียเปรียบเพราะ Winsome ทำการออกตัวเสริมเกม AoS ออกมาขาย โดยตัวเสริมนั้นมีการเขียนย้ำว่า AoS เป็นเครื่องหมายการค้าของ Winsome ทำให้ศาลให้น้ำหนักกับทาง Winsome มากกว่า (โดยที่มาร์ตินไม่ได้รับรู้ว่ามีการเขียนแบบนี้เกิดขึ้น) ในเคสนี้ถึงแม้มาร์ตินจะเชื่อว่าถ้ามีการต่อสู้เค้าก็จะชนะอย่างแน่นอน แต่มาร์ตินก็เลือกที่จะไม่ต่อสู้ทางกฎหมายเนื่องจากค่าใช้จ่ายที่สูง (มาร์ตินอ้างอยู่เสมอว่า John ไม่ต้องจ่ายค่าปรึกษาทนายเพราะว่าพ่อเค้าเป็นทนายเกี่ยวกับสิทธิบัตรพอดี ซึ่งตรงนี้จะโดนมาร์ตินแซะบ่อยมาก เนื่องจากสามารถใช้กลยุทธ์ยืดเรื่องในนานจนอีกฝ่ายไม่สามารถจ่ายค่าทนายไหวได้….. แต่ทั้งนี้ John แย้งว่าพ่อเค้าเสียตั้งแต่ก่อนที่เกม AoS จะถูกตีพิมพ์อีก)
ในเคสนี้ Martin เคยเขียนถึงเรื่องนี้ในมุมของเค้าเอาไว้ตรงนี้ Re: Age of Steam (sold out at publisher level) has arrived at Funagain!
ใจความคือมันไม่เคยมีสัญญาในการให้สิทธิ์จริงๆมาตั้งแต่แรกแล้วมันเป็นการ ‘ช่วยๆกัน’ แบบเดียวกับที่ John ออกเกม Prairie Rail พร้อมกับชื่อ Martin โดยที่ตัวเค้าไม่ได้ออกแบบอะไร พร้อมกับบอกว่าเกมไม่เคยถูกสร้างเพื่อให้จัดจำหนายโดย Winsome แต่เป็นทาง Martin เป็นคนจ่ายเงินให้ John เพื่อพัฒนาเกมให้เท่านั้นเอง ( 🐸 imho - เดาเอาว่าที่แพ้ก็เพราะแบบเนี้ยเอกสารอะไรไม่มีซักอย่าง อีกฝ่ายเอารูลที่เขียนว่าลิขสิทธิ์ของเค้ามาปาใส่หน้าก็ไปต่อไม่ได้ล่ะ พัฒนาจากระบบเกมที่ Martin เป็นคนวางไว้ - แต่ตรงนี้เอาจริงๆผมหาไม่เคยเจอเหมือนกันว่ามีใครในสองคนนี้ออกมาพูดแบบโต้งๆเลยว่าใครเป็นคน ‘ออกแบบ’ เกมนี้จริงๆกันแน่ )
หลังจากนั้นทั่งคู่ก็มีการตกลงเพิ่มเติมว่าทาง Winsome จะได้รับส่วนแบ่งเพิ่มจากทุกแผนที่เสริมที่ทางนั้นผลิตออกมา (ซึ่งเรื่องนี้วนกลับไปสู่ข้อกฎหมายที่ทำให้มาร์ตินเสียเปรียบ เพราะมีการแทรกหัวข้อว่า AoS เป็นเครื่องหมายการค้าของ Winsome)
ในเรื่องการจ่ายเงินจ้าง John มีการอ้างถึงและยืนยันที่ตรงนี้ Re:Martin Wallace accuses Winsome/FRED of copyright infraction
มาร์ตินได้แย้งไว้ใน A response and clarifications to my AoS post ว่ายังไม่เคยมีการให้ขึ้นศาลตัดสินจริงๆเลยนะมันเป็นเพียงการให้คนกลางมาคุยเรื่องส่วนแบ่งเงินค่าสิทธิของ Age of Steam ที่ค่าย FFG กำลังสนใจเท่านั้นเองเพราะว่าตกลงส่วนแบ่งกันไม่ได้ เรื่องจบลงที่ FFG ถอนตัวทางเค้าจึงเอาเกมไปเสนอ Mayfair แต่เนื่องจากมีข้อต่อสู้ทางกฎหมายและจ่ายเงินกับตรงนี้ไปมาก (อย่างน้อย $60,000 หรือเกือบ 2,000,000 บาท) จึงมีการปรับกติกาและเปลี่ยนชื่อมาเป็น Steam
ซึ่งมาร์ตินพยายามชี้ว่าเค้าไม่ได้แพ้ เพราะไม่มีการตัดสินจากศาล ค่าย Mayfair แค่เลือกที่จะถอยออกมาจากการต่อสู้เรื่องชื่อ Age of Steam เท่านั้นเอง (ซึ่งการพูดแบบนี้ค่อนข้างขัดกับที่ John พูดพอควรว่า Mayfair บอกขอใช้ชื่อ Steam เฉยๆได้ไหมซึ่ง John บอกก็โอเคนะ อ้างอิง Re: 2009 Printing box front )
กลับมาที่เรื่องเจรจากับ FFG ซักนิดคือทางเจ้าของ FFG เนี่ยเค้าก็มาพูดถึงเรื่องนี้เอาไว้เหมือนกัน เพราะว่าเค้าเองเป็นคนประสานงานให้เกิดการพูดคุยนี้ขึ้นเอง อ้างอิง ใจความก็ตามนี้
ผม (Christian จาก FFG) เป็นคนจัดการไกล่เกลี่ยนี้เองโดยมีคนกลางคือผู้พิพากษา Dr. Franz-Benno Delonge (ไม่ใช่ผู้พิพากษาธรรมดาเพราะว่าอีกด้านเค้าคือนักออกแบบบอร์ดเกมชื่อดังอย่าง Container แต่ว่าปัจจุบันได้เสียชีวิตไปแล้ว) และหลังจากหลายอาทิตย์แห่งการพูดคุยและตรวจสอบทางผู้พิพากษาก็ได้เลือกที่จะเข้าข้าง John
แต่ว่ามาร์ตินตัดสินใจว่าเค้าจะไม่สนผลของการไกล่เกลี่ยนี้
ตัวละครใหม่คือผู้จัดจำหน่าย FRED (EGG)
FRED เป็นผู้จัดจำหน่ายในอเมริกาที่ต่อมาได้ซื้อค่าย Eagle Games ไป ซึ่งได้รับสิทธิ์ในการตีพิมพ์ AoS มาจาก John ซึ่ง Martin ก็ได้กล่าวหาว่าไม่สนใจต่อคำเตือนของเค้าในเรื่องที่เกมนี้มีปัญหาเรื่องสิทธิ์แต่อย่างใด ถึงแม้ FRED จะเสนอเงินเพื่อขอเอาชื่อมาใส่แต่ก็ได้รับการปฎิเสธไป (แต่ว่าไม่มีข้อมูลเรื่องรายละเอียดเรื่องข้อเสนอแต่อย่างใด อ้างอิง : Re: 2009 Printing box front )
ในขณะนั้นตัว Martin เองก็ได้ออกเกมใหม่ที่มีความคล้าย Age of Steam เป็นอย่างมากในชื่อ Steam:Rail to the riches ในกับค่าย Mayfair Games
ในขณะนั้น Martin กำลังมีสัญญาอื่นกับค่าย FRED อันได้แก่เกม Brass ทางมาร์ตินจึงได้เรียกร้องเงินค่าสิทธิจากการขายทั้งหมดของ Brass ทั้งที่ขายและยังไม่ขายทันที รวมไปถึงเรียกร้องค่าโลโก้ AoS ที่มาร์ตินอ้างว่าเป็นเจ้าของ ซึ่งทาง FRED ก็ยอมจ่ายตามที่ขอ ($25,000 สำหรับโลโก้เพียงอย่างเดียวตีค่าเงินไทย ณ ตอนเขียนบทความนี้เป็นตัวกลมๆก็ 800,000 บาท) อ้างอิงจากต้นทางคือมาร์ตินเองก็หัวเสียมาก ที่ทั้งๆที่ทำเกม Brass ก็คุยอยู่ด้วยกันแต่ทำไมไม่คิดจะบอกกันบ้างว่ากำลังจะตีพิมพ์เกม AoS ของเค้าทั้งๆที่ยังมีปัญหาทางกฎหมายอยู่ เป็นผลให้ทางมาร์ตินอยากยุติทุกอย่างที่ทำกับ FRED ทันที
Martin กับสัญญาของเค้า
ในบรรดาอีเมล์การพูดคุยระหว่าง Eagle Games (ก่อนโดน FRED ซื้อไป) กับ Martin (คนเรียบเรียงยังไม่เคยเห็นนะอีเมล์ที่ว่านี้นะ) แสดงให้เห็นว่า Eagle Games มีการจ่ายเงินให้ Martin เป็นจำนวนเงิน 5000 ปอนด์ (ราว 210,000 บาท) สำหรับเกมในอนาคตที่ยังไม่ได้ถูกออกแบบขึ้นมา และจนบัดนี้มาร์ตินก็ยังไม่เคยทำเกมให้ Eagle Games ซักเกม (ยืนยันจากการที่ไม่มีใครยอมรับว่ามีการทำให้สัญญานี้ลุล่วง) รวมไปถึงรายละเอียดเกี่ยวกับว่ามาร์ตินได้จงใจถือครองไฟล์งานศิลป์ของเกม Brass เอาไว้แม้ว่า FRED จะได้ทำงานจ่ายเงินให้และมีการตกลงว่าจะมีการตีพิมพ์ซ้ำเกิดขึ้น
อ้างอิง: A response and clarifications to my AoS post ทางมาร์ตินพูดว่าทาง FRED พยายามจดเครื่องหมายการค้า Brass โดยที่เค้าไม่ได้รับรู้รวมไปถึงตีพิมพ์ Brass เพิ่มโดยไม่จ่ายค่าสิทธิให้กับเค้า (ถ้าใครจำ KS Brass ปกเก่ารุ่นเหรียญสวยๆได้ก็อันนั้นแหละ มาร์ตินไม่ได้ตังทั้งๆที่มีชื่อตัวเองติดอยู่) จบด้วยการที่มาร์ตินต้องจ่ายเงินเกี่ยวกับเรื่องนี้ไปราวๆ $17,000 หรือประมาณ 540,000 บาท เพื่อเอาชื่อ Brass กลับมา
ความบังเอิญเล็กๆอีกนิดคือมีการค้นพบเอกสารสัญญาเก็บอยู่ในฮาร์ดไดรฟ์ที่ซุกอยู่ในโรงรถของนักออกแบบ Glenn Drover (นักออกแบบที่ทำงานให้กับ EGG มานานรวมไปถึงเกม Railway of The World, Age of Descovery ที่ชื่อเดิมคือ Age of Empire III) ซึ่งมาร์ตินได้เซ็นเอาไว้กับ Eagle Games ว่าขอขายสิทธิ์ทั้งหมดรวมไปถึงการนำไปใช้ต่อของเกม Railroad Tycoon และ Struggle of Empires ให้ทั้งหมด ในราคา 10,000 ปอนด์ต่อเกม (ตกเกมล่ะ 420,000 บาท) ซึ่งเรื่องนี้ FRED ก็ไม่รู้จนกระทั้งไปซื้อ Eagle Games มาแล้วมาเจอเอกสารเข้า รวมไปถึงยังอนุญาตให้ Warfrog (ค่ายของมาร์ติน) สามารถขาย Age of Steam ต่อไปได้ ภายใต้ขอแม้ว่าต้องอยู่ในรูปแบบต้นฉบับ ห้ามผลิตซ้ำหรือขายต่อให้กับคนอื่น
ซึ่งการขายสิทธิ์ขาดแบบนี้ไม่ใช่เรื่องปกติแต่อย่างใด เพราะปกติแล้วในวงการนี้จะใช้วิธีให้สิทธิ์ในช่วงเวลาหนึ่งๆเท่านั้นเอง แต่ว่าเป็นเพราะว่าช่วงนั้นมาร์ตินเจอมรสุมทางการเงินและต้องการเงินเป็นอย่างมาก 🐸 imho - ถ้ามองในมุมนี้นับว่า Eagle Games (เจ้าเก่าก่อนที่จะโดน FRED ซื้อไป) นี้ถือว่าช่วยเหลือ Martin มาตลอดเลยนะ
จนกระทั้งในที่สุด FRED ก็ได้ทำการฟ้องร้องมาร์ตินด้วยรายละเอียดตามนี้
- มาร์ตินละเมิดสัญญาด้วยการออก Steam ให้กับ Mayfair
- มาร์ตินละเมิดสัญญาที่จะออกแบบเกมให้ Eagle Games/FRED หลักจากมีการจ่ายเงินให้แล้ว 5,000 ปอนด์
- FRED ต้องการเงินจำนวน 10,000 ปอนด์ที่ Eagle Games จ่ายให้เป็นค่า Age of Steam คืนรวมไปถึงเงินจำนวน $10,000 สำหรับค่าสิทธิที่มาร์ตินควรจะได้จากการขาย Steam
- FRED ต้องการเงินจำนวน 5,000 ปอนด์ที่ Eagle Games จ่ายให้เพื่อออกแบบเกมคืน
ซึ่งต่อมามีการถอนฟ้อง (อ้างอิง: A response and clarifications to my AoS post)
มาตรงนี้ผมไม่แน่ใจว่าเรื่องไปยังไงต่อแต่อิงจากข้อความ FRED ใน Re: 2009 Printing box front แล้วน่าจะสรุปได้ว่าทั้งสองค่ายเลือกที่จะ move on ไปข้างหน้าแล้วจบเรื่องทางกฎหมายไว้เพียงเท่านี้
At Essen, Martin Wallace came to the FRED booth to discuss Age of Steam. He let us know he was unhappy that we were reprinting the game. He acknowledged that his legal situation with John Bohrer had been resolved, not in his favor, by the US Patent and Trademark Office. On the spot, we offered to give Martin both a design credit and pay him a royalty. Martin clearly and unequivocally refused both – saying he did not wish to have his name associated with this edition of the game.
While at Essen, FRED also met and spoke with our friends at Mayfair. We mutually agreed that the spat between Martin and John had been resolved as best it ever would be, and we mutually concluded, quite amicably, that the “right way” to proceed, given our mutual investments in the two productions, was to go forward with our respective releases and wish each other the best of luck. Which we did. This will be our only public statement as to Martin’s comments, and the Bohrer/Wallace situation.
Keith
ลองมาฟังความอีกข้างกันบ้าง
จำย่อหน้าก่อนได้ไหม คืองี้หลังจากมาร์ตินโพส A response and clarifications to my AoS post ออกมาในวันที่ 09 Mar 2019 ทาง John ก็ได้โพสโต้ตอบกลับบ้างใน Yahoo Group
จำเรื่องที่ว่าพ่อของ John เป็นทนายเค้าเลยได้สิทธิ์ในการปรึกษาทางกฎหมายฟรีได้ไหม? พ่อของ John ได้เสียชีวิตตั้งแต่ปี 1999 ก่อนที่ AoS จะถูกตีพิมพ์เสียอีก พร้อมกับพูดว่าทาง Mayfair นั้นจ้างทนายฝีมือดีส่วนเค้านั้นว่าความให้ตัวเองและชนะแล้วมันจะเป็นไปได้ยังไงถ้าไม่ใช่เค้าแค่เป็นคนถูก? (แต่มาร์ตินบอกว่าไม่มีการขึ้นศาล)
John อ้างว่าที่มาร์ตินมีก็แค่ต้นแบบหยาบๆของเกมรถไฟเท่านั้น แต่เค้านั้นแหละเป็นคนที่พัฒนามันจะกลายมาเป็น Age of Steam (ตรงนี้ทั้งสองฝ่ายพูดคล้ายกันแต่ด้วยมุมมองต่างกันอย่างสิ้นเชิง) และยังอ้างอีกว่า Mayfair ไม่ได้รู้เรื่องนี้มาก่อนเพราะเชื่อคำพูดมาร์ติน จนมาพบความจริง (จากคำของ John) และประกาศว่าจะไม่ตีพิมพ์งานของมาร์ตินอีก
พร้อมกับพูดว่าสำหรับเค้า (John) แล้ว ชื่อ Martin Wallance ก็คือนามแฝงที่เค้าใช้สำหรับงานของเค้าเพราะเค้ามีความสุขดีกับงานออกแบบเบื้องหลัง แต่ตัวเองก็ไม่ลืมที่จะปกป้องผลงานของตัวเองด้วยการแน่ใจว่าทุกกล่องของ Age of Steam มีชื่อของเค้า (Winsome) ติดอยู่ด้วย
(อ้างอิง)
ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้คือทั้งสองคนมันพูดเรื่องเดียวกันแต่คนล่ะทิศทางกันเลยนะ
ซึ่งตรงนี้ก็มีคนมาแย้งว่า
ก็จริงอยู่ที่ Mayfair บอกจะไม่พิมพ์งานของมาร์ตินแล้ว แต่ว่า
- มาร์ตินก็ทำเกมใน Mayfair หลายเกมนะ
- Mayfair ไม่ค่อยสนใจงานของมาร์ตินเพราะมุ่งแต่ Catan
- Mayfair ขึ้นชื่อเรื่องจ่ายเงินช้า
- มาร์ตินบอกงั้งผมจะไม่ได้ทำเกมให้ล่ะนะจ่ายช้าแบบนี้
- Mayfair เลยฉุนยกเลิกงานที่เกี่ยวกับมาร์ตินซะเลย (ซึ่งมีข่าวลงใน BGG ด้วย)
พร้อมกับถามกลับว่ามันไม่ตลกไปหน่อยเหรอที่จะใช้นามแฝงเป็นชื่อนักออกแบบตัวจริงน่ะ? งี้ผมออกเกมใหม่แล้วใช่ชื่อ Uwe ก็ได้สิ?
(อ้างอิง)
และถูกย้ำอีกครั้งว่างานที่นายทำน่ะเพราะนายถูกจ้างให้ทำโดย Warfrog (ค่ายของมาร์ติน ณ ขณะนั้น) พร้อมกับแยกสองเรื่องขาดกันว่า Designer นั้นไม่เท่ากับ Developer และการที่อ้างว่าทำมานานกว่าไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการเป็นเจ้าของมากกว่า ดั่งที่ John พยายามอ้างว่าตัวเองใช้เวลาพัฒนามาอย่างยาวนาน (อ้างอิง)
แล้ว EGG คิดยังไงกับเรื่องนี้?
อ้างอิงจาก Age of Steam KS Update#6 The issue of giving the “designer” credit for this design ทางค่ายแถลงว่าในมุมมองของผู้ผลิตอย่างเค้าแล้ว พวกเค้าไม่ใช่นักกฎหมายที่จะต้องไปตัดสินว่าใครเป็นนักออกแบบ สิ่งที่เค้าทำคือติดต่อคนที่ถือลิขสิทธิ์เท่านั้นเอง และตามกฎหมายนั้นชัดเจนว่า John เป็นคนถือสิทธิ์ที่ว่า พร้อมกับให้ความเห็นในแนวว่ามาร์ตินจะพูดอะไรก็ได้ และไม่ว่าเค้าจะทำอะไรก็ไม่สามารถทำให้มาร์ตินพอใจได้อยู่ดี เค้าจึงเลือกที่จะไม่ตอบโต้ใดๆ
Winsome Games
ไหนๆก็พูดถึง Winsome Games แล้วอยากจะเขียนเพิ่มนิดนึง คือเค้าเป็นค่ายเล็กที่ทำเกมแนวรถไฟเป็นหลักแนวทางการขายอินดี้มากคือคุณต้องไปสมัคร Yahoo mailling list เค้าก่อน และจะนัดรับมือที่ Essen แต่ว่าเราต้องไปติดต่อขอซื้อก่อนซึ่งปกติจะขายหมดในราวๆหนึ่งวันเท่านั้นเอง คุณภาพงานก็จะบ้านเอาเรื่องนิดนึงแต่ก็มีแฟนๆติดตามซื้อกันตลอด อันนี้อาจจะเป็นแนวทางหนึ่งของนักออกแบบไทยที่ผลิตงานอินดี้ขนาดเล็กแต่มีฐานคนเล่นที่แน่นอนก็ได้ แต่เกมค่ายนี้ก็มีหลายเกมที่ค่ายอื่นซื้อไปทำผลิตต่อนอกจาก AoS แล้วก็อย่าง Chicago Express, TransAmerica, Baltimore & Ohio ฯลฯ
เกร็ดเล็กๆอีกนิด
แถวๆปี 2005 นี้สองคนนี้เค้ายังเป็นเพื่อนรักกันอยู่เลยนะ Martin ถึงกับบอกเลยถ้าไม่ได้เจอ John นี้ผมไม่มีทางที่จะออกแบบเกมรถไฟแน่ๆ
Interviews by an Optimist # 68 - Martin Wallace Interviews by an Optimist # 10 - John Bohrer
หรือเราอาจจะได้เห็นเกมรถไฟของมาร์ตินที่ใช้ศิลป์ในระดับเดียวกับ Brass?
I’m not actively working on a train game at this point in time. Having said that I do intend to return to the theme at some point in time. The original idea behind AoS was to produce something that looked nicer than 18xx. I want to create the best looking train game ever, matched with excellent rules. That will probably mean working with Roxley อ้างอิง
ทิ้งท้ายความเห็นส่วนตัว
สุดท้ายผมเองก็ไม่ทราบจริงๆว่าจะเชื่อใคร ผมจึงเลือกแต่เพียงซื้อเกมที่ผมคิดว่าดี (ผมเองเล่นเกมมาร์ตินแล้วรู้สึกสนุกมากๆก็แค่สองสามเกม ที่เหลือก็เกมโอเค) ตัวมาร์ตินเองไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามได้ทำเรื่องผิดพลาดที่ทำให้ชื่อ AoS หลุดมือไปแล้วไม่สามารถตัดขาดจากมันได้ สภาพตอนนี้ถ้าให้พูดแบบเหี้ยๆหน่อยก็คือลุงขี้เมาที่แพ้แล้วไม่ยอมรับ บอกให้สู้ไหมบอกไม่เอาแพง บอกงั้งให้ตังค่าชื่อไหมก็บอกไม่เอาหยิ่ง แต่พอมีใครเอาเรื่องนี้มาคุยก็นั่งกอดเข่าร้องไห้อยู่มุมห้องแล้วชี้นิ้วบอกไอ้ขี้ขโมยๆ (อันนี้พูดแบบเป็นกลางแบบไม่ใส่อารมณ์ร่วมเลยนะ เพราะนั่งอ่านข้อมูลมาก็แบบแกทำตัวเองทั้งนั้น แต่ในมุมคนที่ชอบในผลงานก็อยากช่วยแต่ไม่รู้จะทำไงเหมือนกัน)
Age of Steam เป็นเกมที่เจ๋งมาก(สำหรับผม)และผมก็จะตามซื้อไม่ว่าเงินจะเข้ากระเป๋าใคร และคิดว่าชาวบอร์ดเกมสมควรจะได้ลองเล่นซักครั้ง
Steam ถึงจะเป็นแค่ AoS เจือน้ำเล็กน้อยที่ให้ผู้เล่นเข้าถึงง่ายขึ้น แต่ก็ยังคงมีคุ้นค่าในการเล่นสูงเช่นเดียวกันถ้าออกฉบับพิมพ์ใหม่ผมก็จะตามซื้อเล่นเช่นเดียวกัน
เอาง่ายๆคือผมชอบงานทั้งสองชิ้นนี้มากพอที่จะตามซื้อทุกครั้งที่ปรับอาร์ทนะ (ุถ้ามันนานๆออกที :P)