ถ้าไม่นับเกมชื่อดังติดป้าย SDJ , เกมปาร์ตี้ยอดนิยม หรือเกมจากค่ายใหญ่ๆอย่าง FFG , Day of Wonders , etc.. แล้วปกติบอร์ดเกมปกนึง ทั่วโลก มีขายกันแค่ไม่กี่พันกล่องเท่านั้นเอง ตัวเลขทั่วไปคือ 3000 กล่องแต่ถ้ากะว่าขายดี(มากๆ) ก็จะทำไป 5000 กล่อง แต่ถ้าค่ายเล็กหน่อยจะทำแค่ 1000 กล่อง กว่าจะขายหมดก็ยังต้องใช้เวลาซักพัก ถ้ากลุ่มอินดี้ๆก็จะทำขายกันแค่หลักร้อยเท่านั้น
ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายเกมนี้คือ Istanbul ในฉบับ euro gamer (ผมไม่เรียก Istanbul ว่า euro game แต่เรียกว่า german family game) ทั้งๆที่สองเกมนี้แทบไม่มีอะไรเหมือนแต่ถ้าบอกให้ยกตัวอย่างเกมที่คล้ายๆกันผมก็คงยกตัวอย่างเดิมอยู่ดี (งงมะ?)
เปิดหัวข้อใหม่เน้นเขียนเกี่ยวกับระบบกลไกที่ใช้แต่ล่ะเกม เน้นเอาแต่ที่ผมสนใจ พยายามจะเขียนในแง่ว่าไม่รู้จักเกมมาก่อนก็พอเข้าใจได้ว่ากลไกมันทำงานยังไง กับพยายามเขียนให้สั้นๆ(เอาจริงๆคือบางทีเขียนทั้งเกมมันยาก เขียนแค่ประเด็นที่ชอบมันเร็วกว่า ไม่ต้องเรียบเรียงเยอะ….ฮา) เนื่องจากเกมไม่อยู่กับตัวกับไม่รู้จะได้กางอีกเมื่อไรเลยต้องขอใช้รูปบางส่วนจาก BGG นะครับ
“No, not ever. As at any other time, you’re limited to only those things which (reasonably) move you closer to winning.” - J C Lawrence
เกมนี้เป็นแนว resource conversion + engine building ธีมว่าด้วยการบริหารพัฒนาเมืองในยุคอณานิคม เราเป็นผู้ว่าเมืองที่ต้องพัฒนาเมืองโดยการ จัดหาคน สร้างตึก สร้างงาน เพื่อให้เมืองของเราเจริญรุ่งเรื่อง ผมได้มาแบบฟลุ๊คๆเพราะฝากเพื่อนหิ้วจาก Essen16 ได้ (ตอนนี้ที่ขายๆกันมีแต่ essen copy แต่อีกซักพักน่าจะเริ่มเข้าระบบกระจายสินค้าปกติล่ะ)
“คล้าย Ora et Labora ฉบับใช้บอร์ดกลางทำ action”
พอดีมีเพื่อนที่เป็นเจ้าของร้านเกม mention มาให้ comment สั้นๆเกี่ยวกับเกมนี้เพราะมีลูกค้าถามมา ตอนแรกจะเขียนแค่สองสามบรรทัด แต่ว่า The Hobbit เกิดจากกระดาษเปล่าๆพร้อมเติมคำว่า มีฮอบบิทอยู่ในรู ฉันใด รีวิวนี้ยิ่งเขียนก็ยิ่งยาวฉันนั้น ปั่นรวดเดียว ยิ่งเขียนตะกอนความทรงจำเกี่ยวกับเกมนี้(ที่ตอนแรกนั่งๆนึกว่ามันเล่นยังไงว่ะ ลืมหมดล่ะ) ก็โผล่ขึ้นมาเรื่อยๆ แล้วพบว่าไปๆมาๆรู้สึกว่ามันยาวเกินโพส fb เลยเอาลง blog ล่ะกัน (น่าจะเป็นรีวิวที่เขียนเร็วสุดล่ะ แถมบังเอิญกดดูรูปเก่าๆเจอที่ถ่ายๆเก็บไว้พอดีหลายรูปเลย)
ถึงจะจั่วหัวเหมือนหนังฆาตกรรม แต่ว่าเกมนี้เป็นเกมยูโรแสนสงบสุข วิถีชาวบ้านตามสไตล์ Uwe เราจะเล่นเป็นผู้นำเหล่าไวกิ้งมาพัฒนาบ้านเมืองผ่านการค้าขาย ล่าสัตว์ เลี้ยงสัตว์ บุกปล้นสินค้า แกนหลักของเกมนี้เข้าใจง่ายมาก…… คือหาไทล์มาถมที่ว่าง
How things goes
ส่วนตัวผมชอบ designer คนนี้เป็นพิเศษ (Alban Viard) เกมนี้เอาแกนของ Age of Steam มาตีความใหม่ พร้อมอัดกิมมิคเข้าไปเยอะมาก ตัวเกมจะให้ผู้เล่นสร้างระบบขนส่งต่อรางรถไฟเพื่อเชื่อมต่อย่านต่างๆของเมืองเข้าด้วยกัน แต้มจะมาจากการสร้างระบบขนส่งรางรถไฟและการขนส่งผู้โดยสารถึงที่หมาย ตัวเกมเล่น 6 รอบจบ
18xx เป็นชื่อปีและชื่อเรียกของระบบเกมที่มีธีมลงทุนในบริษัทรถไฟ ที่แบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่คือวางรางรถไฟและการซื้อขายหุ้น เกมที่ถือได้ว่าเป็นตัวเด่นสำหรับผู้เล่นหน้าใหม่คือ 1830: Railways & Robber Barons เป็นเกมที่มีคนรู้จักกันมากที่สุดและเป็นรากฐานของอีกหลายๆเวอร์ชั่นเกมตระกูล 18xx อื่น