เกมนี้เป็นหนึ่งในเกมยูโรระดับกลางเล่นไม่นาน (60-90 นาที) ที่ผมชอบมากๆเกมหนึ่ง เล่นตั้งแต่เริ่มเข้าวงการใหม่ๆจนตอนนี้ก็ยังชอบ (ในขณะที่เกมที่เริ่มเล่นสมัยนั้นส่วนมากขายทิ้งหมดแล้วเพราะเบาไป)
Through The Ages : A New Story of Civilization เป็นฉบับปรับปรุงใหม่ของสุดยอดเกมแนวสร้างอารยธรรม ตัวนี้เอาเกมเดิมมาทำใหม่ใส่ภาพให้สวยงามกับปรับกติกาให้สมดุลและคลีนมากขึ้น
ไม่มีอะไรมากแค่อยากจะบอกว่าทาสีหุ่น Anachrony แล้ว (จริงๆทำเสร็จมาซักพักล่ะ)
สิ่งที่ทำให้เกมนี้อยู่ในความสนใจของผมมีอยู่หลายอย่าง อย่างแรกคือมันเป็นเกม mid-heavy ธีม economic ที่ใช้เวลาเล่นแค่ 90 นาที อย่างที่สองคือเป็นผลงานของนักออกแบบเกม Cole Wehrle ที่เป็นนักออกแบบร่วมใน Pax Parmir กับเป็นคนออกแบบ draft แรกของ Pax Renaissance และอย่างที่สามคือเกมนี้ถูกจัดอันดับเข้าชิงรางวัลของ Heavy Cardboard กลุ่มที่มีแนวทางการเล่นเกมยูโรสายหนัก ซึ่งเกมส่วนมากที่กลุ่มนี้แนะนำมักจะถูกใจผม
คำว่า ‘หลุม’อาจจะเป็นคำอธิบายที่ไม่ดีเท่าไร แต่ก็คือลักษณะของโต๊ะที่มีขอบกั้นสูงล้อมรอบ แล้วก็ความสูงของพื้นที่ผิวโต๊ะที่ใช้เล่นเกมจะเตี้ยกว่าปกติ นั้นคือถ้ามองขอบที่ยกมาเป็นพื้นแล้วส่วนหลักก็คือส่วนที่’ยุบ’ลงไปนั้นเอง ฝรั่งใช้คำว่า Vault (ขอบกั้นไม่ได้ยกให้สูงจากระดับปกติ แต่พื้นโต๊ะเป็นฝ่ายที่ถูกทำยุบลงไป)
Town Center (3rd edition) เป็นเกม puzzle สามมิติ ธีมสร้างเมืองที่ผมชอบมากๆเกมนึง ปกติไม่ค่อยได้กางเพราะคนไม่ค่อยเก็ท 5555
มี concept งานบอร์ดเกมนี้น่าสนใจมาเล่าให้ฟัง จริงๆคือได้ยินมาเป็นปีล่ะจากเพื่อนเล่นบอร์ดเกมชาวอเมริกันที่แวะมาเล่นด้วยกันบ่อยๆแต่พอดีผมพึ่งหาชื่องานเจอ
เกมแนว area control ระดับกลางๆเข้าใจง่ายจากค่าย Spielworxx ให้เราเล่นเป็นประเทศมหาอำนาจที่ไม่ได้เอยชื่อ โดยเราจะต้องมาสูบทรัพยากรจากประเทศกำลังพัฒนาไปให้ประเทศของเรา
ตัวเกมจับเอาช่วงเวลาในยุคเรเนซองส์ (ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ)ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1460 ไปจนถึง ค.ศ. 1530 กินบริเวณยุโรปไปจนถึงประเทศรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ เราคือนายธนาคารตัวเล็กๆที่คอยชักใยเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ - จับคู่สตรีกับพระราชา,สบคบคิดสร้างสาธารณรัฐ, สั่งโจรสลัดไปทำลายเส้นทางสัมปทานการค้าคู่แข่ง, เข้าหาอำนาจทางสงฆ์สร้างความขัดแย้งทางศาสนา, ก่อสงครามศักดิ์สิทธิ์เพื่ออำนาจ ฯลฯ ทั้งหมดนี้อัดแน่นอยู่ในเวลา 90 นาทีและการ์ด 120 ใบ กล่องเกมขนาดแค่หนังสือเล่มหนา ผ่านอำนาจที่เรียกว่า ‘เงินตรา’