กบเล่าเรื่อง

Coconut Empire- โรงละครล้อการเมือง

คือเป็นการเขียนแบบไม่ค่อยมี format เท่าไร เพราะอันที่ใช้ประจำคิดว่าไม่เหมาะกับสิ่งที่จะเขียน เรียนให้ทราบไว้ก่อนว่าอยากให้อ่านในเชิงบันทึกความเห็นส่วนตัวมากกว่าอ่านเป็นบทความวิพากษ์วิจารณ์ (ซึ่งก็เหมือนอันอื่นๆล่ะนะ)

ศรีราชา

เกมนี้เป็นงานตัวทดลองของคุณมนตรี (Foxy & Wooly) เป็นเกมแนวประมูล + Set Collection ธีมหลวมๆว่าด้วยการนำเข้าสินค้าเข้ามาที่แหล่มฉบังบ้านเกิดให้ก่อเกิดธุรกิจสร้างความเจริญให้กับเมือง (ซึ่งเอาจริงๆข้ามๆธีมไปก็ได้ แต่พอดีชอบวิธีที่หาธีมมาใส่) เป็นเกมสุดท้ายที่ผมได้ทดลองเล่นในงาน T3Con ครับ

Gold Mine

ช่วงนี้ชีวิตผมแอบวุ่นพอควรเลยไม่ค่อยมีเรื่องสต๊อกในหัวไว้อัพเดทเท่าไร (จริงๆก็มีหลายเกมที่เล่นล่ะแต่ยังไม่ได้ซ้ำมากพอที่รู้สึกว่าน่าจะเขียน เกมใหม่จะกางหลายทีก็ติดเรื่องจำนวนคนไม่ค่อยลงตัว) พอดีคุณโหนด (อานนท์ สิงห์รัตน์ Arnon Singrat) กับคุณแก้ม (ร้าน Bewitch) แวะเอาเกมที่เค้าออกแบบ และผ่านการประกวดจนเข้ารอบในงานปั้นกระดานครั้งที่ 2 ของ ลานละเล่น บอร์ดเกมคาเฟ่ มาให้ลองก็เลยขอเขียนถึงซักนิด

Fast Farm

เป็นงานออกแบบงานปั้นกระดานของ ลานละเล่น บอร์ดเกมคาเฟ่ อีกเกมที่เข้ารอบเหมือนกับ Golden Mining ที่เคยเอามาคุยก่อนหน้า พอดีเล่นแล้วรู้สึกว่าโดนใจมากเลยคิดว่าต้องขอลัดคิวเกมอื่นนิดนึง

Automotive Factory Game

เกมแนว Worker Placement บริหารธุรกิจสร้างโรงงาน เป็นเกมที่ถูกพัฒนาเพื่อใช้สอน business thinking ให้แก่นักศึกษา ป.โท และ เอก โดยตัวเกมจะเกี่ยวกับการบริหารโรงงานด้วยธรรมาภิบาล วิทยาลัยพาณิชย์ศาสตร์๚ (GSC) ม.บูรพา (ยกข้อความบางส่วนมากจากเพจของผู้พัฒนา)

Age of Steam ยาขมของ Martin Wallance

Update 2019-03-15 ล่าสุดคือทางมาร์ตินได้ประกาศว่าทุกอย่างจบลงแล้วผ่านการคุยกับ Eagle-Gryphon Games โดยที่ตัวมาร์ตินเองยินยอมให้มีการใช้ชื่อเค้าใน AoS ได้ (ซึ่งไม่ความจำเป็นต้องทำ เพราะ EGG ไม่มีภาวะผูกพันตรงนี้เนื่องจากทางกฎหมายแล้ว AoS ไม่ใช่ของมาร์ติน) ส่วนตัวคิดว่าคงมีการตกลงและจ่ายเงินจนเป็นที่น่าพอใจ และเป็นผลดีต่อชื่อเสียงของทั้งสองฝ่าย อ้างอิง: Resolution to the AoS Situation

สิบอันดับเกมสนุกๆที่ผมได้เล่นในปี 2018

ปีนี้ผมเล่นไป 14x เกม เป็นเกมใหม่ซะ 6x (เบ็ดเสร็จปีนี้เล่นเกมไป 42x ครั้ง) รวมๆแล้วน้อยกว่าปีที่แล้วอย่างล่ะนิดล่ะนิดหน่อยแต่ก็ไม่ต่างมากนะ เพราะเล่นเบ็ดเสร็จไปร่วม 800 ชั่วโมงเทียบกับปีที่แล้วที่ประมาณ 750 ชั่วโมง (เฉลี่ยแล้วได้เล่นเกมตั้งวันล่ะสองชั่วโมงแน่ะดีใจมาก) และเช่นเดียวกับปีที่แล้วผมขอเสนอเกมที่ผมคิดว่า ‘เจ๋ง’ ที่ผลิตและผมได้เล่นในช่วง Q4/2017 จนถึงสิ้นปี 2018 ที่เก็บเอาปลายปีก่อนหน้ามาด้วยเพราะว่าหลายเกมมันออกตอนนั้นแล้วกว่ามันจะมาถึงมือ กว่าจะได้เล่นก็ล่วงมาปี 2018 ซะล่ะ (เกมรุ่น Essen 18 ที่ไปโผล่หลายๆลิสผมยังไม่ได้เล่นบานเลยล่ะ)

5 เกมที่แสดงถึงรสนิยมการเล่นเกมของคุณ

มีช่วงหนึ่งไปเจอฝรั่งเค้าเล่นกันในกลุ่ม fb แล้วรู้สึกว่าน่าสนใจดี หัวข้อคือ “เลือกมา 5 เกมที่คุณจะเอาไว้บอกรสนิยมการเล่นเกมของคุณ…..” แต่พอดีผมรู้สึกว่าถ้าเขียนแต่ชื่อมันก็ดูจะห้วนๆไป เลยขอเอามาขยายเพิ่มแบบของตัวเองอีกหน่อย

ท่าหมู่บ้านสามประสาน

สมัยก่อนในแก๊งผมจะมีกลุ่มคนรู้จักกันสามคน แก๊งนี้บังเอิญว่าอยู่หมู่บ้านจัดสรรเดียวกันตั้งแต่เด็กเลยชวนๆกันมาเล่นเกม (แต่ตอนนี้แต่งงานบ้าง มีแฟนบ้าง ย้ายออกกันหมดล่ะหมู่บ้านแตก) ซึ่งแก๊งนี้เวลาอยู่ด้วยกันถ้าใครคนหนึ่งชนะ พวกนี้มันจะชอบพูดเล่นกันขำๆว่า ‘หมู่บ้านเราชนะแล้ว เย้’

Dragon Contest

เกมนี้เป็นเกมต้นแบบที่กำลังพัฒนาโดยคุณ Arnon Singrat มีธีมว่าด้วยหมู่บ้านที่เราอยู่จะมีประเพณีการแข่งขันโดยให้เราเอามังกรมาต่อสู้กัน ผู้เล่นก็เลยต้องเดินทางไปทั่วเกาะเพื่อเสาะหาและฝึกฝนมังกรไปต่อสู้กับดราก้อนมาสเตอร์คนอื่น ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายหน่อย ไอเดียกว้างๆก็คือเปลี่ยนจากโปเกม่อนเป็นมังกรนั้นแหละ

Foxy & Wooly

ในภาพรวมคือเกมแนวยูโรครอบครัวระดับเบา ใช้เวลาเล่นแค่ประมาณ 20 นาที ธีมว่าด้วยหมาป่าจะมากินแกะ เราเลยต้องหาทางไล่มันออกไป แต่ว่าความยากคือหมาป่ามีจำนวนมากและเราก็ไม่สามารถป้องกันได้หมดทุกตัวเลยต้องแบ่งๆกันโดน ผลงานของนักออกแบบคนไทย Goalbeat Montri​ (SimSoccer, Garden Trade)

ไอเดียของคุณมันยอดเยี่ยม แต่มันก็ไร้ค่า

ข้อเขียนนี้แปลและเรียบเรียงใหม่จาก Kickstarter Lesson #204: Your Idea Is Brilliant, Your Idea Is Worthless เขียนโดย Jamey Stegmaier (Scythe , Viticulture) มีการตัดทอน และเรียงคำใหม่โดยพยายามคงใจความดั้งเดิมไว้

สิบขั้นตอนการออกแบบเกม - by Jamey Stegmaier (คัดย่อ)

ช่วงนี้ความสนใจผมเอนเอียงมาในทางฝั่งพัฒนาเกมกระดานนิดหน่อย (คือปกติจะสนใจในแง่กลไกการเล่นเป็นหลัก แต่ว่าก็ยังไม่ได้กะออกแบบอะไรเองนะ ความขี้เกียจยังมีชัย) ส่วนหนึ่งน่าจะเพราะช่วงนี้ไปเจอคนที่อยากเป็นนักออกแบบหลายคนอยู่  พอหา keyword ผ่านๆก็ไปเจออันนี้มา  คิดว่าทำโน๊ตย่อเก็บไว้หน่อยก็คงดี หลายๆข้อก็อาจจะไม่เหมาะกับเมืองไทยเท่าไร แต่ก็สามารถปรับใช้เอาได้อยู่ หลายอันก็รู้สึกว่าเค้าซอยหัวข้อแปลกๆ…..แต่ก็เอาน่ะ

Battle Con กับ Exceed- เกมไฟท์ติ้งสู่การ์ดเกม

ทั้งสองเกมมีเป้าหมายคือจำลองเกมแนว Figthing (Street Figther , Takken ไรงี้) มาในรูปแบบการ์ดเกม ที่เอามาลงพร้อมกันเพราะว่าเป็นเกมจากค่ายเดียวกัน (Level 99) แล้วก็ได้เล่นในเวลาใกล้เคียงกัน ตอนแรกโคตรงงว่ามันจะทำบ้ามาอะไรสองเกมแบบเดียวกัน แต่พอได้เล่นแล้วพบว่ามันทำออกมาได้แตกต่างกันแล้วก็สนุกกันคนล่ะแบบ

ข้อดี-ข้อเสีย-ความเสี่ยง ของการรวมกลุ่มซื้อเกมใน KS กันเองกับไปซื้อผ่านร้านค้า

หนึ่งในเทรนด์ที่ผมเห็นว่ากำลังมาแรงตอนนี้สำหรับผู้เล่นทั่วไปก็คือการรวมกันเป็นกลุ่มปาร์ตี้กดเกมแบบแพ๊คใหญ่

คนสอนเกม- พิธีกรรมก่อนเริ่มเล่น

ในกลุ่มที่ผมเล่นอยู่ประจำ ผมมักจะอยู่ในกลุ่มคนจำพวก ‘ทีมสอนเกม’ อันเป็นกลุ่มคนประเภท สายซื้อ/สายอ่านกฎ ที่หลายครั้งถ้าไม่เอาเกมคนอื่นมาอ่าน ก็จะมีคนซื้อเกมมาให้อ่าน (ฮา) ตำแหน่งนี้จะกึ่งอาสาสมัครนิดหน่อย คือเวลาจัดวงเล่นเกมจะเป็นเป้าแรกๆที่โดน ‘แยก’ ไปสอนวงที่ยังไม่เคยเล่นเกมนั้นๆ

คนสอนเกม- เกมแรกมีไว้เรียนรู้

ต่อจากคร่าวก่อน พอเขียนแล้วมีคนแสดงความคิดเห็นกันหลายคน (นานๆจะมีซักโพสหนึ่งที่มีคนคุยเยอะ ดีใจมาก สงสัยรีวิวมันจะน่าเบื่อไป ฮา) หนึ่งในหัวข้อคุยที่น่าสนใจก็คือ ‘เกมแรก’ กับผู้เล่นหลายแบบ บางคนก็ชอบแบบค่อยๆสอน (ตามข้อเขียนก่อนหน้า) บางคนก็ชอบแบบสอนกฎให้หมดแม๊กไรงี้ รอบนี้ก็เลยขอยกมุมมองของผมกับ ‘เกมแรก’ มาเล่าสู่กันฟัง

คนสอนเกม- ลุยเลย...อย่าพล่ามเยอะ

รอบนี้อยากจะเล่าบางแง่มุมของผมที่มักจะต้องรับบทสอนเกมเป็นประจำ ซึ่งจริงๆแล้วเนี่ยก็เป็นสิ่งที่ผมชอบทำมากอย่างหนึ่ง (สอนดีปล่าวไม่รู้ แต่ก็เชื่อว่าก็ ‘คล่อง’ พอควร….. แต่ก็น่าจะรู้เรื่องแหละเพราะก็เล่นกันได้จนจบเกม ฮา) ส่วนชื่อตอนก็ใส่ไว้งั้งๆเผื่อคิดตอนใหม่ออก…..

หนทางสู่เกมที่หนักขึ้น

เป้าหมายของบทความนี้คือเพื่อแนะนำเกมสำหรับผู้เล่นกลุ่มที่ผ่านเกมระดับรางวัล Spiel des Jahres อันเป็นเกมระดับครอบครัว (light, mid-light) และระดับรางวัล Kennerspiel des Jahres (mid light, mid) ที่เป็นระดับที่ต้องคิดขึ้นมาอีกหน่อยแล้วอยากจะ ‘ลอง’ เล่นเกมหรือเกมที่ ‘ปูทางไปสู่’ เกมระดับ Heavy Euro ดู เพราะจริงๆแล้วเกมที่ขึ้นชื่อว่า ‘หนัก’ หลายๆเกมมันก็ไม่ได้เล่นยากอะไร แค่มันมี depth ที่ยิ่งเล่นยิ่งล้ำลึกเท่านั้นเอง บทความนี้ไม่ได้ตั้งกลุ่มเป้าหมาย ไปยังกลุ่มที่เล่นเกมปาร์ตี้...

IMHO- ผมแค่อยากพล่ามเฉยๆเท่านั้นแหละ

จริงๆแล้วสิ่งที่ผมแล้วค่อนข้างกลัวในการทำเพจก็คือ ‘มีคนซื้อเกมตาม’ ( ในกรณีนี้คือซื้อตามแบบไม่ได้หาข้อมูลก่อน ) กับศัพท์เฉพาะทางที่ผมก็งงๆนิดหน่อยว่ากำเนิดมาจากไหนคือ ‘ป้ายยา’ คือแบบ….อ่ะ! ทำไมพูดยังกะเราไปเชียร์ซื้อเกมกันนะ? เราแค่เขียนถึงเกมที่เราเล่นเฉยๆเท่านั้นเอง

ซื้อเกมมือสองถูกๆจากเมืองนอก

หนึ่งในแหล่งซื้อเกมเจ้าประจำของผมในโลกออนไลน์ก็คือ BGG Market ซึ่งถ้าว่ากันง่ายๆมันก็คือที่ๆคนเล่นเกมทั่วโลกเค้าเอาเกมมา ‘ฝากขาย’ โดยส่วนตัวผมจะเอาไว้ใช้ซื้อเกมมือสองโดยผมเน้นที่สภาพพอใช้กับของมีตำหนิ (Good/Acceptable) เป็นหลัก ส่วนหมวดสภาพเนี๊ยบๆนี้แทบไม่ดูเลย (New / Like New / Very Good)

เกมที่ผมคิดว่าเจ๋งประจำปี 2017

ปีนี้ผมเล่นไป 13x เกม เป็นเกมใหม่ซะ 7x (เบ็ดเสร็จปีนี้เล่นเกมไป 47x ครั้ง) และอันนี้เป็นความรู้สึกคร่าวๆของ –เกมใหม่– ที่ผมได้เล่นปีนี้ครับ เราคงไม่รู้สึกเหมือนกันไปหมดซะทุกเกมคิดเห็นยังไงก็มาคุยแลกเปลี่ยนกันนะครับ :)

เลขสามเหลี่ยม

ยังอยู่กับ GameTek: The Math and Science of Gaming เช่นเคย เป็นหนังสือเกี่ยวกับการออกแบบเกมกระดานที่เกิดจากการรวมเอาส่วนที่น่าสนใจที่ Geoff Engelstein (คนเขียน) เคยพูดไว้ในโชว์ของ Dice Tower รอบนี้ผมขอยกบทที่พูดถึง ‘เลขสามเหลี่ยม’ (Triangular Numbers)

Meeple Source- Money Disc

ผมอยากได้เหรียญ mini poker set จาก MeepleSource.com มานานล่ะแต่ว่ามัน out of stock ไปนานมากแล้วก็ไม่ยอมเอามาทำใหม่เสียที พอรอบนี้มันเอากลับมาทำใหม่  (แต่หน้าตาคนล่ะแบบนะ) ก็เลยคิดว่าคงต้องสั่งมาลองหน่อย เพราะก่อนหน้านี้ใช้เหรียญพลาสติกหน้าตาแบบเหรียญโรงอาหารมาหลายปี ก็ใช้งานได้ดีนะ เลยคิดว่าได้เวลาอัพเกรดล่ะ  (แต่ก่อนหน้านี้ก็จัดเหรียญเหล็กจาก Clans of Caledonia มาใช้แล้ว)

กลไกใหม่ - ทีละหนึ่ง

ยังอยู่กับ GameTek: The Math and Science of Gaming เช่นเคย เป็นหนังสือเกี่ยวกับการออกแบบเกมกระดานที่เกิดจากการรวมเอาส่วนที่น่าสนใจที่ Geoff Engelstein (คนเขียน) เคยพูดไว้ในโชว์ของ Dice Tower คราวนี้ขอยกเรื่องเกี่ยวกับ The Innovation Limit หรือ “ของใหม่มาทีละอย่างก็พอแล้ว”

โชว์กล่องเกมตามประสาคนไม่รักษาของ

พอดีเห็นตรงนั้นตรงนี้คุยกันเรื่องรักษาของ ก็เลยเอากล่องประสาคนไม่รักษาของมาแชร์บ้าง ในรูปเป็นเกมบางส่วนที่ซื้อมาในช่วงเริ่มเล่นเกมใหม่ๆตั้งแต่ 7-8 ปีก่อนเอาวางติดท้ายรถกับใส่ถุงผ้าหิ้วไปมาจนมันถลอกปอกเปิกไปตามเรื่อง อย่าง Navadagor นี่สีซีด/มุมขาด/กลางแอ่นเพราะมีเกมอื่นทับ/สีถลอก (แต่ของข้างในก็ยังปกติสุขดีนะ การ์ดก็ใส่ซอง)

ให้ซ่อน - แต่นับได้

ผมพึ่งได้อ่านหนังสือ GameTek: The Math and Science of Gaming มา เป็นหนังสือเกี่ยวกับการ ออกแบบเกมกระดานที่เกิดจากการรวมเอาส่วนที่น่าสนใจที่ Geoff Engelstein (คนเขียน) เคยพูดไว้ในโชว์ของ Dice Tower ยังอ่านไม่จบแต่มีบทหนึ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่อง Hidden but Trackable Information หรือ “ข้อมูลที่ถูกซ่อนไว้ทั้งๆที่สามารถจดบันทึกได้” คิดว่าน่าสนใจดีเลยอยากเอามาสรุปให้ฟัง

กระเป๋า Cajon vs กระเป๋า Board Game Truck

ไอเดียการเอากระเป๋า cajon (เป็นกลองแบบหนึ่ง ทรงสี่เหลี่ยม)  มาใส่บอร์ดเกมนี้ฝรั่งใน bgg เค้าฮิตกันมานานพอควร ยี่ห้อที่ค่อนข้างนิยมคือ ChromaCast Cajon Bag ขายใน amazon ข้อดีที่ฝรั่งเค้าเชิดชูคือราคาถูกมาก คุณภาพพอใช้ ราคา 20$ ไม่ส่งไทย แต่ลองเทียบดูจากรีวิวฝรั่งแล้วผมคิดว่าอันที่ผมซื้อมาคุณภาพดีกว่าเยอะนะ ( รีวิว ChromaCast Cajon Bag ของฝรั่ง ) ตอนแรกผมหากระเป๋าแบบนี้ตามเวบในไทยพบว่าหาไม่ค่อยได้ แถมเจอแต่ทรงแบบฝาเปิดทรงกระสอบด้านบนไม่ใช่แบบเปิดด้านหน้า ซึ่งใช้กับบอร์ดเกมไม่เวิร์คแน่นอนเพราะมันจะหยิบเข้าออกยากมากแถมมองไม่เห็นอีกต่างหากว่าใส่อะไรไปมั้ง (ไอ้เกมกล่องล่างสุดนี้ได้ลืมแน่นอนว่าใส่เกมอะไรไว้)

แท่นวางการ์ด UberStax

UberStax เป็นที่วางการ์ดที่ผมทดลองใช้มาซักพักล่ะ เลยเอามาเล่าสู่กันฟัง

ลงสีหุ่น Anachrony

ไม่มีอะไรมากแค่อยากจะบอกว่าทาสีหุ่น Anachrony แล้ว (จริงๆทำเสร็จมาซักพักล่ะ)

โต๊ะเล่นเกมแบบเป็นหลุมยุบ(Vault)มันดีจริงเหรอ?

คำว่า ‘หลุม’อาจจะเป็นคำอธิบายที่ไม่ดีเท่าไร แต่ก็คือลักษณะของโต๊ะที่มีขอบกั้นสูงล้อมรอบ แล้วก็ความสูงของพื้นที่ผิวโต๊ะที่ใช้เล่นเกมจะเตี้ยกว่าปกติ นั้นคือถ้ามองขอบที่ยกมาเป็นพื้นแล้วส่วนหลักก็คือส่วนที่’ยุบ’ลงไปนั้นเอง ฝรั่งใช้คำว่า Vault (ขอบกั้นไม่ได้ยกให้สูงจากระดับปกติ แต่พื้นโต๊ะเป็นฝ่ายที่ถูกทำยุบลงไป)

เทศกาลบอร์ดเกม Sasquatch

มี concept งานบอร์ดเกมนี้น่าสนใจมาเล่าให้ฟัง จริงๆคือได้ยินมาเป็นปีล่ะจากเพื่อนเล่นบอร์ดเกมชาวอเมริกันที่แวะมาเล่นด้วยกันบ่อยๆแต่พอดีผมพึ่งหาชื่องานเจอ

10 เทคนิคเพื่อการสร้างกลุ่มเล่นเกมที่ยั่งยืน

ไปเจอโพสใน BGG ว่าด้วยวิธี สร้าง/รักษา กลุ่มเล่นบอร์ดเกมในอยู่ยาวๆ คิดว่าน่าสนใจดี ส่วนตัวแล้วผมกับเพื่อนๆรวมตัวกันเล่นเกมตั้งแต่สมัยยังไม่มีร้านบอร์ดเกมซักร้าน เริ่มจากกลุ่มเล็กๆ 4-5 คนจัดมาเรื่อยๆ ตอนนี้ก็เล่นด้วยกันมา 7 ปีแล้วนัดกันมาเล่นทีก็หมุนเวียนกันมาราวๆ 10-20 คน หลายๆข้อก็….เออเราก็ทำเหมือนกันเลยนิหว่า (เอาจริงๆมันก็ common sense ทั่วไปนั้นแหละ) ผมเขียนใหม่แต่อิงหัวข้อจากต้นทางนะ อย่าลืมไปตามอ่านกันนะครับ !

จิตวิทยาว่าด้วยความเร็วในการเล่นเกม

บทความนี้ทำการแปลและเรียบเรียงใหม่ ควรอ่านต้นฉบับประกอบเพราะมีการ ตัดทอน/ปรับเปลี่ยน/สอดแทรกความเห็นส่วนตัวลงไปในบทความหลายจุด แต่ยังคงใจความสำคัญของบทความไว้

เศษเสี้ยวของนักออกแบบชื่อ Phil Eklund

Hello, Phil Eklund here, rocket engineer, professional game designer and producer, recently moved from Arizona to Germany. I specialize in “experience games”, simulations that cover a comprehensive sweep of all...

Brass [VS] Age of Industry

พึ่งมีโอกาสได้หยิบเอา Age of industry ที่ไม่ได้กางมาหลายปีออกมาเล่น ที่ไม่ได้กางเลยเพราะเพื่อนตัวหลักในกลุ่มชอบเล่น Brass มากกว่าแล้วก็ตัวผมเองในฐานะเจ้าของเกม ดันอยากเล่นเกมใหม่ที่เป็นทั้งของตัวเองกับของชาวบ้านเรื่อยๆตามประสา #cult_of_the_new

มีคนไทยใช้ BoardGameGeek แค่ 1,925 คน!

“มีคนไทยใช้ BoardgameGeek เยอะไหม?”

ทำไมเราต้องเล่นเกมกับคนขี้โกงด้วย(ว่ะ)?

ต้องเริ่มจากโพส facebook ต้นเรื่อง ที่เพจของ Coconut Empire ก่อน ถ้าขี้เกียจอ่านก็คือระหว่างเล่นเกมพบว่ามีผู้เล่นคนหนึ่งโกงด้วยความผิดเทียบเท่าแอบเก็บเงินจากธนาคารเข้ากระเป๋าไม่บอกใคร คนออกแบบก็เลยมาถามว่าควรจะแก้ปัญหาที่ผู้เล่นโกงอย่างไรดี โดยที่ผู้เล่นอื่นยังรู้สึกแฟร์

The Civilized Guide to Tabletop Gaming

เป็นหนังสือชื่อย๊าวยาวที่ผมพึ่งซื้อมาอ่านบน kindle เมื่ออาทิตย์ก่อน อ่านจบแล้วคิดว่าเป็นหนังสือที่ดีนะ เป็นหนังสือเกี่ยวกับบอร์ดเกมที่อ่านแล้วคิดว่าถ้ามีแปลไทยน่าจะดี เนื้อหาครอบคลุมทุกเรื่องของ Tabletop game (Board game/ RPG / Miniature /……)

เกมทำไมมัน Out of Print บ่อยจัง(ฟระ)?

ถ้าไม่นับเกมชื่อดังติดป้าย SDJ , เกมปาร์ตี้ยอดนิยม หรือเกมจากค่ายใหญ่ๆอย่าง FFG , Day of Wonders , etc.. แล้วปกติบอร์ดเกมปกนึง ทั่วโลก มีขายกันแค่ไม่กี่พันกล่องเท่านั้นเอง ตัวเลขทั่วไปคือ 3000 กล่องแต่ถ้ากะว่าขายดี(มากๆ) ก็จะทำไป 5000 กล่อง แต่ถ้าค่ายเล็กหน่อยจะทำแค่ 1000 กล่อง กว่าจะขายหมดก็ยังต้องใช้เวลาซักพัก ถ้ากลุ่มอินดี้ๆก็จะทำขายกันแค่หลักร้อยเท่านั้น

กลไกที่ผมชอบ - ระบบเทรดใน Mega Civilization

เปิดหัวข้อใหม่เน้นเขียนเกี่ยวกับระบบกลไกที่ใช้แต่ล่ะเกม เน้นเอาแต่ที่ผมสนใจ พยายามจะเขียนในแง่ว่าไม่รู้จักเกมมาก่อนก็พอเข้าใจได้ว่ากลไกมันทำงานยังไง กับพยายามเขียนให้สั้นๆ(เอาจริงๆคือบางทีเขียนทั้งเกมมันยาก เขียนแค่ประเด็นที่ชอบมันเร็วกว่า ไม่ต้องเรียบเรียงเยอะ….ฮา) เนื่องจากเกมไม่อยู่กับตัวกับไม่รู้จะได้กางอีกเมื่อไรเลยต้องขอใช้รูปบางส่วนจาก BGG นะครับ

เล่นเพื่อชนะ สำคัญกว่า เล่นแล้วชนะ

“No, not ever. As at any other time, you’re limited to only those things which (reasonably) move you closer to winning.” - J C Lawrence

บ่นเรื่อยเปื่อย - ว่าด้วยเชิดชูรางรถไฟและบ่นโรงไฟฟ้า

พอดีอยากทดลองเขียนอะไรแปลกๆอันนี้จะเรียกว่าเป็นบทความต่อเนื่องจากรีวิว [Age of Steam / Steam : เรียบง่าย ไร้ความปราณี] ก็ไม่ผิดนัก แต่ต้องออกตัวก่อนว่าค่อนข้างจับแพะชนแกะและมีอคติเยอะพอตัว :)

Spiel des Jahres คือเกมที่สนุกที่สุดในปีนั้นจริงๆเหรอ?

“พวกคุณเคยเล่นเกมระดับรางวัลแล้วสนุกด้วยเหรอ?”